วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

สนช. หลังรับพรบ.ความมั่นคง

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=10185&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai
บทความสุรชาติ บำรุงสุข (1) : กฎหมายความมั่นคงกับการละเมิดสิทธิ บทเรียนจากมาเลเซีย
จากบทความเดิมชื่อ กฎหมายความมั่นคงกับปัญหาสิทธิมนุษยชน :บทเรียนจากมาเลเซีย


สุรชาติ บำรุงสุข

" กฎหมายความมั่นคงภายในของมาเลเซียเป็นชุดของกฎหมายที่สมบูรณ์ที่สุด

และรอบด้านที่สุดสำหรับชนชั้นปกครอง "


The International Commission of Jurists


หากมองปัญหาการเมืองไทยปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าหนึ่งในปัญหาที่น่าสนใจก็คือ ท่าทีของกลุ่มเอ็นจีโอไทยต่อเรื่องของกฎหมายความมั่นคงใหม่ ซึ่งกำลังถูกผลักดันโดยนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เพื่อให้ได้รับความเห็นชอบและนำออกมาใช้ปฏิบัติโดยเร็ว

แม้กฎหมายจะได้รับการคัดค้านจากกลุ่มคนบางส่วนในสังคมไทย แต่รัฐบาลก็มีท่าทีที่ชัดเจนในการออกแรงผลักดันกฎหมายนี้ เช่น เมื่อเสียงคัดค้านมุ่งไปสู่ประเด็นของการ "รัฐประหารเงียบ" ที่ฝ่ายทหารดึงเอาอำนาจของนายกรัฐมนตรีในการประกาศสถานการณ์ที่เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศ ไปไว้กับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ. รมน.) ก็ได้มีความพยายามจากนายกรัฐมนตรี ที่จะแก้ไขเพียงให้อำนาจดังกล่าวมาอยู่ในมือรัฐบาล (ดูมติชนรายวัน, 29 กรกฎาคม 2550) ซึ่งเท่ากับว่า สาระหลักของกฎหมายนี้จะไม่ได้รับการแก้ไข และรัฐบาลได้แสดงท่าทีอย่างชัดเจนในการเป็นผู้ผลักดันกฎหมายนี้

ปัญหาเช่นนี้ทำให้บรรดาผู้นำเอ็นจีโอที่ร่วมอยู่ในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ หรือร่วมอยู่ในฐานะผู้ได้รับประโยชน์จากกลุ่มทหารที่ยึดอำนาจ โดยการให้มีตำแหน่งในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือในองค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติ หรือกับส่วนหนึ่งส่วนใดของอำนาจรัฐ อาจจะต้องตอบคำถามแก่สังคมให้ได้ว่า ถ้ากฎหมายนี้เป็นกฎหมายที่จะถูกใช้เพื่อนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนแล้ว บรรดาผู้นำเอ็นจีโอเหล่านั้นจะกำหนดท่าทีต่อกฎหมายความมั่นคงดังกล่าวอย่างไร เพราะก่อนหน้าที่จะเกิดการยึดอำนาจ ผู้นำเอ็นจีโอที่มีตำแหน่งทั้งหลายนี้ล้วนแต่พร่ำอยู่กับเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชนตลอดมา

บทความต่อไปนี้ไม่เน้นในกรณีของไทย แต่จะทดลองนำเสนอว่า ทำไมนักสิทธิมนุษยชนและนักเคลื่อนไหวทางสังคมในมาเลเซียจึงคัดค้านกฎหมายความมั่นคงภายในอย่างมาก แม้ว่าการเคลื่อนไหวของพวกเขาจะไม่ประสบความสำเร็จ เพราะไม่มีท่าทีและสัญญาณเชิงบวกแต่อย่างใดว่า รัฐบาลมาเลเซียจะยินยอมยกเลิกกฎหมายนี้ ทั้งที่กฎหมายนี้ออกใช้บังคับในยุคของสงครามเย็น และกฎหมายความมั่นคงภายในหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ISA (Internal Security Act 1960) เป็นผลผลิตโดยตรงของการต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์มลายา

แต่แม้สงครามคอมมิวนิสต์ในมาเลเซียจะสิ้นสุดลงจากการเจรจาสันติภาพที่หาดใหญ่ (The Haadyai Peace Accord) ในวันที่ 24 ธันวาคม 2532 ซึ่งส่งผลให้สงครามภายในที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2491 สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ ต่อมาในเดือนสิงหาคม 2535 รัฐบาลมาเลเซียก็ได้ประกาศรับการกลับคืนของอดีตชาวสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มลายาจำนวน 220 คน

ผลจากการสิ้นสุดของสงครามคอมมิวนิสต์เช่นนี้ทำให้หลาย ๆ ฝ่ายในมาเลเซียเชื่อว่า กฎหมายความมั่นคงน่าจะต้องถูกยกเลิกไป เพราะกฎหมายนี้มีจุดกำเนิดมาจากปัญหาภัยคุกคามของคอมมิวนิสต์ ซึ่งเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ได้ยุติสงครามปลดปล่อยของพวกเขาแล้ว ความชอบธรรมของกฎหมาย ISA ก็น่าจะหมดไป และกฎหมายก็น่าจะต้องยุติตามไปด้วย

สิ่งที่เห็นได้ชัดในทางการเมือง จากการที่กฎหมายไม่ได้ถูกยกเลิกไปพร้อมกับการสิ้นสุดของสงครามคอมมิวนิสต์ก็คือ กฎหมาย ISA กลับกลายเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการจัดการกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ดังจะเห็นได้ว่า ผู้ถูกจับกุมในระยะหลังมักจะเป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล ตัวอย่างจากการกวาดล้างในยุทธการลาลัง (Operation Lalang) ในวันที่ 27 ตุลาคม 2530 เห็นได้ชัดว่าผู้ถูกจับกุมส่วนใหญ่ในจำนวน 65 คน เป็นนักการเมืองฝ่ายค้าน ผู้นำเยาวชน นักธุรกิจ และนักเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล เป็นต้น ในขณะที่ผู้ถูกจับกุมจากกฎหมายนี้นับจากปี 2503 เป็นต้นมานั้น ส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีน และถูกจับด้วยข้อสงสัยที่เกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์เป็นหลัก

อย่างไรก็ตามในช่วงต้นปี 2539 รัฐบาลมาเลเซียได้แสดงท่าทีว่าอยากจะทบทวนกฎหมาย ISA แต่ก็ไม่ได้กำหนดกรอบเวลาไว้ ดังนั้นในช่วงปี 2539 กลุ่มเอ็นจีโอร่วมกับพรรคการเมืองฝ่ายค้านในมาเลเซียได้ร่วมกันรณรงค์ให้รัฐบาลยกเลิกกฎหมายนี้ เพราะเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่รัฐบาลสามารถคุมขังผู้ต้องสงสัยได้โดยไม่ต้องผ่านการไต่สวน (detention without trial)

ในเดือนธันวาคม 2539 ได้มีการจัดประชุมโดยกลุ่มเอ็นจีโอเพื่อแสดงให้เห็นถึงการใช้อำนาจของตำรวจในทางที่เกินเลย แต่ทางอธิบดีตำรวจของมาเลเซียได้ข่มขู่ว่า จะใช้กฎหมาย ISA จัดการกับผู้เข้าร่วมประชุม และองค์กรผู้จัดก็ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกนิยมลัทธิมาร์ก เป็นต้น

ในเดือนสิงหาคม 2540 รัฐบาลมาเลเซียได้ขู่ว่าจะใช้กฎหมาย ISA จัดการกับนักวิเคราะห์ด้านการเงินที่ทำนายค่าเงินริงกิต ที่กำลังตกต่ำในช่วงวิกฤตการณ์การเงินเอเชียในปี 2540 การที่รัฐบาลใช้กฎหมายความมั่นคงขู่ก็เพื่อป้องกันไม่ให้มีใครพูดถึงปัญหาเช่นนี้ เพราะจะเป็นผลในทางลบแก่ภาพลักษณ์ของเงินริงกิต

ในเดือนสิงหาคม 2541 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เสนอให้ใช้กฎหมาย ISA ในการควบคุมบุคคลที่ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ปล่อยข่าวลือในอินเตอร์เน็ต และต่อมาในเดือนกันยายนของปีเดียวกันรองนายกรัฐมนตรีอันวาร์ อินราฮิม ก็ถูกจับและคุมขังโดยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีมหาเธร์ใช้อำนาจที่ปรากฏในกฎหมาย ISA นี้เช่นกัน ในขณะเดียวกัน รัฐบาลยังใช้กฎหมายนี้ห้ามไม่ให้ภรรยาของรองนายกรัฐมนตรีอันวาร์ พูดในที่สาธารณะอีกด้วย

แม้กระทั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมในช่วงปี 2541 ก็ได้เสนอให้รัฐบาลใช้กฎหมายนี้จัดการกับผู้ที่จับกุมได้อย่างซึ่งหน้าจากความผิดในการวางเพลิง เป็นต้น

จากการที่กฎหมาย ISA ให้อำนาจแก่ฝ่ายบริหารอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ในการจับและคุมขังบุคคลต้องสงสัยได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านการไต่สวน จึงทำให้ในช่วงที่มีการเลือกตั้งทั้งในปี 2542 ได้มีการรณรงค์อย่างกว้างขวางเพื่อให้ยกเลิกกฎหมายดังกล่าว และในปี 2543 ซึ่งเป็นวาระครบรอบ 40 ปีของ ISA องค์กรสิทธิมนุษยชนของมาเลเซียหรือ SUARAM ก็ได้ขยายการรณรงค์ให้มากขึ้น

แต่หลังจากเหตุก่อการร้ายที่เกิดขึ้นกับสหรัฐอเมริกาในวันที่ 11 กันยายน 2544 รัฐบาลมาเลเซียได้ใช้เหตุการณ์ 9/11 เป็นปัจจัยในการสร้างความชอบธรรมให้กับการคงอยู่ของ ISA ซึ่งรัฐบาลได้ยืนยันถึงความจำเป็นที่จะต้องใช้กฎหมายนี้เพื่อจัดการกับปัญหาความมั่นคงใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการก่อการร้าย

ในความเป็นจริงกลับพบว่า หลังเหตุการณ์ 9/11 รัฐบาลได้ใช้กฎหมาย ISA จัดการกับการชุมนุมของขบวนการนักศึกษา หรือใช้ในการควบคุมสื่อมวลชน และแม้นายกรัฐมนตรีมหาเธร์ โมฮัมมัด ในระหว่างดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แสดงท่าทีคัดค้านอย่างชัดเจนในการคัดค้านกฎหมาย ISA เช่น เขาได้กล่าวให้รัฐสภาในเดือนมีนาคม 2509 ว่า "ไม่มีคนที่มีความรับรู้อย่างถูกต้องคนใดชอบกฎหมายความมั่นคงภายใน เพราะกฎหมายนี้ขัดแย้งกับหลักการของประชาธิปไตยทุกเรื่อง" (ดูใน Parliamentary Debates, 22 มีนาคม 2509)

แต่เมื่อเขาเป็นนายกรัฐมนตรีและเป็นผู้มีอำนาจใช้กฎหมายนี้ เขากลับแสดงท่าทีตรงกันข้าม โดยเขาได้กล่าวในการประชุมระหว่างประเทศที่ประเทศดูไบว่า เขาเป็น "นักเผด็จการที่ดี" มากกว่าจะเป็น " นักประชาธิปไตยตะวันตก" ซึ่งเท่ากับการสนับสนุนให้ใช้กฎหมายเช่นนี้ต่อไปนั่นเอง

นอกจากนี้จะเห็นได้ว่า ในปี 2544 กฎหมาย ISA ถูกนำมาบังคับใช้กับการจับกุมผู้นำนักศึกษาในมาเลเซียมากขึ้น หรือรัฐบาลใช้กฎหมายนี้ในการไม่อนุญาตให้บุคคลสัญชาติมาเลเซียเดินทางออกนอกประเทศ เพราะมีรายงานว่าในการเดินทางครั้งก่อนหน้านี้ว่า บุคคลเหล่านั้นได้กล่าววิจารณ์รัฐบาลมาเลเซียในทางลบ เป็นต้น

การเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านกฎหมาย ISA ต่อมาได้ขยายตัวออกไปในวงกว้าง จนมีการก่อตั้ง "ขบวนการยกเลิก ISA" (The Abolish ISA Movement) ซึ่งถือได้ว่าเป็นการรวมตัวเป็นพันธมิตรทางการเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมาเลเซียในการต่อต้านกฎหมาย ISA และแกนกลางของการเคลื่อนไหวประกอบด้วยปัญญาชน เอ็นจีโอ พรรคการเมือง และสหภาพแรงงาน

อย่างไรก็ตามหลังเหตุการณ์ 9/11 รัฐบาลมาเลเซียยืนยันอย่างหนักแน่นในการคงไว้ซึ่งการใช้อำนาจพิเศษในกฎหมาย ISA เพื่อจัดการกับการก่อการร้าย โดยนายกรัฐมนตรีมหาเธร์กล่าวว่า กฎหมายนี้จะไม่ยกเลิก เพราะมี "ประสิทธิภาพในการต่อต้านการก่อการร้าย" แต่ในอีกด้านหนึ่ง กลุ่มนักสิทธิมนุษยชนในมาเลเซีย ได้กล่าววิจารณ์ว่า รัฐบาลมาเลเซียเป็นประเทศหนึ่งที่ใช้โอกาสของสงครามต่อต้านการก่อการรายในการจัดการกับกลุ่มต่อต้านทางการเมืองภายในประเทศ

เรื่องราวของกฎหมายความมั่นคงของมาเลเซียที่มีผลกระทบต่อปัญหาสิทธิมนุษยชนเช่นที่กล่าวอย่างสังเขปในข้างต้น น่าจะเป็นข้อเตือนใจให้แก่สังคมไทยได้บ้าง เพราะกฎหมายเช่นนี้เมื่อถูกนำออกมาใช้แล้ว ก็ยากที่จะเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกได้ เว้นแต่เราเชื่ออย่างที่ผู้นำรัฐบาลมาเลเซียกล่าวไว้ว่า "การใช้กฎหมายความมั่นคงภายในก็คือสัญลักษณ์ของความรักของรัฐบาล เพื่อช่วยให้พลเมืองมีชีวิตกลับคืนสู่ปกติ" !

--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 10/11/2550


http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=10181&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai
ผ่านร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคง: ประวัติศาสตร์อันอดสูของประชาธิปไตยไทย - โพสท์ 10/11/2550


ประวิตร โรจนพฤกษ์


ประวัติศาสตร์อันอดสูของประชาธิปไตยไทย ได้พลิกไปสู่อีกหน้าหนึ่ง เมื่อสภารับใช้ทหารที่ชื่อว่า

http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=10181&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai
สนช. รับร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคง โดยหลักการ เมื่อวันพฤหัสที่ 8 พ.ย. ที่ผ่านมา ผู้เขียนในฐานะที่ได้ร่วมชมฟังความอดสูนี้กับตา ณ รัฐสภา ขอคัดคำพูดสำคัญๆ ของทั้งฝ่ายสนับสนุนและต้าน ใน สนช. มาแลกเปลี่ยนกันและขอตั้งข้อสังเกตเพื่อให้ฝากกันไปคิดต่อ

“รัฐบาลนี้เสนอช้าไป ควรจะเสนอมาชาติหนึ่งแล้ว เพื่อความมั่นคงของประเทศ รอแม้กระทั่งวินาทีก็ไม่ได้เพราะไม่รู้อะไรจะเกิดเมื่อไหร่ คนเลวไม่ต้องใช้สิทธิ ใช้อำนาจเลย”


สมภพ เจริญกุล สนช.


“ประเทศเพื่อนบ้านของเรามีกฎหมายมั่นคงแบบนี้มานาน ... [พ.ร.บ.นี้] หลีกเลี่ยงไม่ได้และจำเป็นต้องทำ”


เชน วิพัฒนอมรวงศ์ สนช. (น่าจะเป้น"เชนทร์ วิพัฒน์บวรวงศ์")


“ความมั่นคงเป็นเสมือนออกซิเจน เมื่อใดที่ท่านไม่มีออกซิเจนมาหายใจท่านจะรู้สึก”

“[พ.ร.บ.นี้] เป็นยาเบาๆ หน่อยที่ทุกฝ่ายพอจะรับได้ เมื่อเทียบกับกฎอัยการศึก สิ่งที่ไม่ใช่หรือครับที่ประชาชนเรียกร้องให้ยกเลิก เราก็สนองตอบก็เลยเกิด พ.ร.บ. นี้ขึ้นมา”

“ฝ่ายทหารมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าให้ประชาชนอยู่อย่างเป็นสุข ฝ่ายทหารไม่ได้ต้องการแสวงหาอำนาจอะไร อำนาจเรามีพอแล้ว แต่เราต้องการปฏิบัติหน้าที่อันทรงเกียรติ [หาก] เป็นการกำจัดสิทธิเสรีภาพเพื่อนำความสงบสุขสู่ประชาชนส่วนใหญ่ในสังคมก็ต้องยอมรับ”

พล.อ.โชคชัย หงษ์ทอง สนช.


“อาเซียนเกือบทุกประเทศก็มี [พ.ร.บ.นี้เหมือน] เกราะอันศักดิ์สิทธิ์ที่จะคุ้มครองให้ลูกหลานต่อไป เราอย่าไปห่วงครับว่ารายละเอียดกฎหมายจะมีปัญหา เพราะชั้นนี้เป็นชั้นรับหลักการ”


ไพศาล พืชมงคล สนช.


“[ปัญหา] หากปล่อยให้ลุกลามแล้ว แม้ใช้ยาแรงก็อาจรักษาไม่ได้”

พล.อ.องค์กร ทองประสงค์


“[ร่าง พ.ร.บ. นี้] ปรับปรุงไปค่อนข้างมากแล้ว เรื่องความมั่นคงของประเทศเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่ง ปัญหามีหลายรูปแบบ ปัญหาที่เกี่ยวกับภัยคุกคามที่อาจคาดการณ์ได้และไม่อาจคาดการณ์ได้ เช่นการแพร่ระบาด โรคระบาดจากสัตว์ถึงคน ภัยแล้ง น้ำท่วม ปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ ปัญหาความมั่นคงทางชายแดน แรงงานต่างชาติที่ผิดกฎหมาย ปัญหายาเสพติด ปัญหาเหล่านี้มีการบีบรัดขยายตัวจนเราอาจคาดไม่ถึงเมื่อเกิดวิกฤตขึ้นมา .... จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง”


ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ

แถลงต่อ สนช.


“ผลกระทบ [ของร่าง พ.ร.บ.นี้] ร้ายแรงไม่แพ้กฎอัยการศึก ไม่แพ้กฎหมายบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน และเกิดผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและสิทธิที่รัฐธรรมนูญให้เป็นหลักประกันสูงสุด”

“รัฐบาลและ สนช. ชุดนี้เป็นผลผลิตของรัฐประหาร ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่เราก็ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์แห่งชาติเป็นเป้าหมายสูงสุด ไม่ใช่คำนึงถึงผลประโยชน์ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะที่จะฉวยโอกาสเอาอำนาจไปใช้โดยไม่พิจารณาให้ดี”

“บ้านเมืองเราในขณะนี้มาไกลพอสมควรในเรื่องการเมืองระบอบประชาธิปไตย เรามาไกลเกินกว่าจะเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวากลับไปหาระบอบอำนาจนิยมให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหยิบไปใช้”

“[ผม] อ่านร่างเหมือนกับกำลังเซ็นต์เช็คเปล่าให้ผู้อื่นเอาไปกรอกจำนวนเอาเองตามใจชอบ”

“กอ.รมน.สามารถเข้าไปสวมแทน ทำแทนหน่วยงานราชการอื่น [ซึ่ง] ต้องถ่ายโอนอำนาจไปให้ กอ.รมน.ใช้ ฝากให้คิดว่าวิธีการเหล่านี้ถูกต้องหรือไม่ ... ข้าราชการทุกคนทุกฝ่ายของรัฐได้รับผลกระทบหมด [ใครจะชี้] ว่าข้าราชการผู้นี้เป็นภัยต่อความมั่นคง”

“สมัยกฎหมายต้านคอมมิวนิสต์มีประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการใช้อำนาจหน้าที่ของรัฐ ผมไม่อยากเห็นอดีตกลับมาอีกครั้งหนึ่ง”

(ประสงค์ยังได้กล่าวถึงรายละเอียดที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เช่น เรื่องอำนาจในการสั่งห้ามออกนอกเคหะสถาน และห้ามใช้เส้นทางพาหนะ)

“ม.18 [ของร่าง พ.ร.บ.] ให้ ผอ. และพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ ผอ. มอบหมายเป็นพนักงานสอบสวน คือทำได้ตั้งแต่ ป้องกัน กำหนดและปราบปราม คือจับก็ได้ สอบสวนเองอีก ไอ้นี่ กฎหมายเขียนอย่างนี้ ม.22 ในการปฏิบัติการเจ้าหน้าที่พนักงานไม่ต้องรับผิดทางแพ่งหรืออาญา หากเชื่อว่าการปฏิบัติเป็นไปตามสุจริต ก็ไม่ต้องรับโทษตาม ม.นี้ ก็หมายความว่า ม.นี้ไม่ต้องรับผิด แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นใครรับผิดชอบ และท่านละเลยกฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา”

“ทั้งหมดนี้นอกจากว่าทำลายหลักการสิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคทางกฎหมายแล้ว ทางด้านศาล ท่านอยู่เหนือ องค์กรตรวจสอบอื่นๆ ไม่มีเลย”

“กฎหมายอย่างนี้เป็นกฎหมายที่ประเทศของเรามาไกลเกินสมควรแล้วที่จะเลี้ยวซ้ายเลี้ยววาไปหาอำนาจนิยม [ร่าง พ.ร.บ.นี้] แม้แต่หลักการก็ยังไม่สมควรที่จะรับ”


ประสงค์ สุ่นศิริ สนช.


“อำนาจพิเศษ [ภายใต้ร่าง พ.ร.บ.] ก็จะกลายเป็นอำนาจที่ใช้เกือบปกติ นี่จะกลายเป็นอันตราย ที่ผ่านมา ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจอย่างไม่ถูกต้องประชาชนยังมีที่พึ่งคือศาลปกครอง

“ความกลัวบางทีไม่มีเหตุผล เป็นความหวาดระแวงสะสมมาจากอดีต ไทยเคยมีเหตุการณ์ลุอำนาจ”

“สิทธิมนุษยชนก็เหมือนออกซิเจน เพราะไม่รู้วันใดเราแจ็คพอตถูกละเมิด น่าจะมีการพูดคุย ร่าง พ.ร.บ. นี้อย่างกว้างขวาง”


โคทม อารียา สนช.


“[ร่าง พ.ร.บ.] ไม่น่าจะนำมาใช้ในเวลาที่บ้านเมืองกำลังก้าวพ้นจากเผด็จการอันสืบเนื่องมาจาก รัฐประหาร 19 ก.ย. กฎหมายฉบับนี้เป็นการทำลายบรรยากาศการให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างสิ้นเชิงและแสดงถึงความไม่จริงใจของรัฐบาลที่จะคืนอำนาจแก่ประชาชน ซึ่งดิฉันไม่เห็นด้วยและรับหลักการมิได้”


บัญญัติ ทัศนียะเวช สนช.


“[ร่าง พ.ร.บ.นี้] ใช้ถ้อยคำที่กว้างจนไม่อาจนิยามได้ หรือกรณีใดๆ ก็อาจใช้กฎหมายนี้ได้ [เพราะ] ไม่มีนิยามที่จะระบุเงื่อนไขต่อการใช้อำนาจเช่นนี้เลย”

“[หาก] รับก่อนและแปรญัตติอาจจะมีปัญหา ถึงขนาดให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการมีอำนาจถึงขนาดเหมือนเป็นเจ้าพนักงาน สอบสวนด้วย จำเป็นด้วยหรือไม่ อำนาจเจ้าหน้าที่ไปไกลค่อนข้างมาก [อำนาจ] เป็นไปโดยไม่มีกรอบระยะเวลา เหตุใดจึงยกเว้นความรับผิดทางอาญา มันเป็นอย่างเดียวกันการเซ็นเช็คไม่กรอกวันที่ กฎหมายนี้จะอยู่ต่อไปไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาล ผมอยากให้ใคร่ครวญให้ดี เรื่องสิทธิเสรีภาพประชาชน”


สุรพล นิติไกรพจน์ สนช.


“อำนาจครอบจักรวาล มันกว้างมากจนกระทั่งจะทำอะไรก็ได้ในอนาคต จะมีผู้ใช้อำนาจในทางที่ผิดอย่างมาก ถ้ามันไม่ชัดเจนมันสามารถกล่าวหาใครในห้องนี้ก็ได้ว่าเป็นภัยความมั่นคง เมื่อเราเขียนกฎหมายออกมาอย่างนี้ แล้วเราจะปกป้องประชาชนผู้สุจริตได้อย่างไร [พ.ร.บ.นี้] จะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งคู่ต่อสู้ทางการเมือง”

ตวง วรรณชัย สนช.


“ผมไม่เชื่อว่ากฎหมายฉบับนี้จะรักษาความมั่นคง การใช้อำนาจคนที่มีอำนาจต้องมีความรับผิดชอบและต้องมีการตรวจสอบ ไม่งั้นจะเกิดการละเมิด”


วิริยะ นามศิริพงษ์พันธุ์ สนช.


“สองสามวันนี้ ผมนอนไม่หลับ ครุ่นคิดว่าควรรับโดยหลักการไปก่อนไหม [ร่าง พ.ร.บ. นี้] มีโอกาสขัดรัฐธรรมนูญได้มากในหลายมาตรา และเป็นสัญญาณไม่ดีต่อการเลือกตั้งที่จะมาถึง”

“ร่าง พ.ร.บ.นี้ พูดถึงอำนาจหน้าที่อย่างกว้างขวางครอบจักรวาล นิยามยังไม่ชัดเจน หลักการยังไม่ได้ถกให้ตก ลำบากที่จะเห็นด้วยกับหลักการกฎหมายฉบับนี้”


สุริชัย หวันแก้ว สนช.


“[ร่าง พ.ร.บ. นี้] จำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ถึง 10 มาตรา [ในรัฐธรรมนูญ] ทีเดียว ที่จริงมาตราเดียวก็มากเกินไปแล้ว [อำนาจในการยกเลิก] เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและรายงานข่าวอันนี้เท่ากับทำลายผมทั้งชีวิตเลย”

“ผมเกิดมา 59 ปีก็เพิ่งเจอวันนี้ ท่านจะดักฟังโทรศัพท์ อีเมลของผม แน่นอนเลย ถ้าสงสัยว่าผมเป็นภัย”

“ถ้าจะทำอย่างนี้ไม่มีพลเมืองใดที่จะให้ตัวแทนของเขาออกกฎหมายปิดกั้น จำกัด”


สมเกียรติ อ่อนวิมล สนช.


“แทนที่จะแก้ปัญหาเรากลายเป็นสร้างปัญหามากขึ้นหรือไม่”


โสภณ สุภาพงษ์ สนช.


ฟังดูแล้ว ผู้อ่านควรจะคิดต่อ เพราะผลกระทบนั้นจะใหญ่หลวงนัก สำหรับผู้เขียนขอตั้งข้อสันนิษฐานเบื้องต้น ดังนี้

หนึ่ง พ.ร.บ. นี้ได้ทำให้สิทธิภายใต้กฎหมายทั่วไป และรัฐธรรมนูญฉบับทหารไร้น้ำยา

สอง พวกนักวิชาการ และภาคประชาสังคมที่เข้าไปอยู่ในสภาหุ่นกระบอกนี้ เช่น สุริชัย หวันแก้ว โคทม อารียา สุรพล นิติไกรพจน์ ได้ช่วยเป็นตัวละครประกอบให้กับการผ่านร่างกฎหมายเผด็จการนี้ [โดยรู้ตัวหรือเจตนาหรือไม่ก็ตาม] และทำให้การลงคะแนนรับร่าง พ.ร.บ. ดูมีความเป็น ‘อิสระเสรี’ และ ‘ประชาธิปไตย’ ซึ่งจริงๆ แล้วมันไม่มีอะไรที่เป็นประชาธิปไตยเกี่ยวกับสภานี้ ซึ่งถูกกลุ่มทหารที่ก่อรัฐประหารแต่งตั้งแม้แต่น้อย คนเหล่านี้ได้ทำร้ายประชาชน และสังคม ประวัติศาสตร์จะจารึกถึงแม้พวกเขาอาจจะโหวตต้าน พ.ร.บ. ก็ตาม ว่าพวกเขาคือพวกสมรู้ร่วมคิดชนิดหนึ่ง สมรู้ร่วมคิดให้การผ่านร่างกฎหมายนี้ดูเหมือนมีความชอบธรรม

สาม จากนี้ไป ประชาชนคงต้องเสียเลือดเนื้อ เสรีภาพอีกมาก จนกว่าจะสู้มาได้ซึ่งสิทธิเสรีภาพตามที่ทุกคนพึงมี นี่กลายเป็นการถอยหลังลงคลองไปยิ่งกว่ายุคทักษิณหรือยุค รสช. เสียอีก วันพฤหัสที่ 8 พ.ย. เป็นวันแห่งโศกนาฎกรรมของประชาธิปไตยไทยวันหนึ่ง


สี่ ทางผู้สนับสนุนทั้งใน สนช. และนอก สนช. อ้างว่า อำนาจสูงสุดจะอยู่ที่ตัวนายกรัฐมนตรีที่น่าจะมาจากการเลือกตั้งและเป็น ผอ.รมน. โดยตำแหน่ง ภายใต้ร่าง พ.ร.บ.นี้ แถมคณะรัฐมนตรีจะต้องรับทราบ ปัญหาคือ แม้สมัยทักษิณ ซึ่งใครๆ ก็บอกว่า เป็นยุคที่นายกฯ เรืองอำนาจมาก ทหารก็ยังก่อรัฐประหารได้ เพราะฉะนั้นไม่มีอะไรเป็นหลักประกันว่า ตัว รอง ผอ.รมน. ซึ่งตามตำแหน่งเป็น ผบ.ทบ. จะไม่กลายเป็นผู้กุมอำนาจครอบจักรวาลตัวจริง รัฐธรรมนูญยังฉีกได้เลย นับอะไรกับ พ.ร.บ. สามานย์นี้

ห้า ภาคประชาชนควรถามแต่ละพรรคที่กำลังแข่งขันเลือกตั้งว่าจุดยืนต่อเรื่อง พ.ร.บ. นี้เป็นอย่างไร และล่าลายเซ็นต์ล้มกฎหมายนี้รวมถึงกฎหมายเผด็จการอื่นๆ ที่ทำคลอดภายใต้รัฐบาลทหาร

หก ดูเสียงโหวต 101 ต่อ 20 แล้ว หมดหวังว่าการแปรญัตติจะนำไปสู่อะไรที่ดีขึ้น เพราะโหวตกี่ที พวกที่อ้างว่า ‘หวังดี’ และไปอยู่ใน สนช. ก็คงแพ้ ดีไม่ดี มันจะแปรญัตติให้กฎหมายนี้เลวร้ายขึ้นอีกด้วยซ้ำไป

เจ็ด ประชาชนควรเตรียมศึกษาการใช้กฎหมายความมั่นคงในสิงคโปร์และมาเลเซียให้จงดี เพราะเขากดขี่และละเมิดสิทธิประชาชนกันมาเป็นสิบๆ ปีแล้ว หากคุณเท่าทันรัฐและสถาบันสำคัญต่างๆ นั่งๆ นอนๆ เขาก็อาจลากคุณเข้าตารางโดยไม่ต้องขอหมายศาลได้

แปด ทหารเตรียมเฮได้เลย (จริงๆ พวกเขาคงเฮไปแล้ว เพราะงบประมาณใช้จ่ายเรื่องความมั่นคงจะเพิ่มจนนับแบงค์แทบไม่ทัน แต่อย่าเพิ่งดีใจจนเกินงาม เพราะสุดท้าย การปะทะกันระหว่างประชาชนผู้รัก ประชาธิปไตยและความเป็นธรรม จะต้องเกิดขึ้น พวกเขาจะต่อสู้กับกฎหมายเถื่อน ที่ชงโดยรัฐบาลเถื่อน และอนุมัติ โดยสภาเถื่อน เพราะประชาชนคงไม่ยอมเป็นควายให้พวกนี้จูงจมูกไปตลอดชีวิต


สุดท้าย ระหว่างนี้ เรามาคั่นเวลาเล่นเกมทายกันไหมว่า ใครและกลุ่มไหนจะโดนอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญภายใต้ พรบ. ความมั่นคงภายใน ลากไปขังทรมานก่อนกัน กลุ่มวิพากษ์เจ้า กลุ่มวิพากษ์ทหาร กลุ่มต้านเผด็จการการเมือง หรือกลุ่มแบ่งแยกดินแดน

คำตอบอาจเป็นว่าใครก็ได้ ที่ต่อต้าน พ.ร.บ. นี้ หรือที่ผู้มีอำนาจไม่ชอบใจ


--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 10/11/2550


http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=10183&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai
YPD. ประณาม 101 สนช. สืบทอดอำนาจรัฐทหารถาวร


ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย หรือ YPD. ออกแถลงการณ์ประนาม สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) 101 คน ที่ลงมติรับ รับหลักการร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรฯ และตั้งกรรมาธิการร่วมเพื่อพิจารณาและแปรญัตติในเรื่องดังกล่าวต่อไป


ทั้งนี้ ในแถลงการณ์ระบุว่า กฏหมายดังกล่าวเป็นกฏหมายที่ให้อำนาจกองทัพใช้อำนาจถาวรเทียบเคียงกับกฏอัยการศึก และทับซ้อน 3 อำนาจอธิปไตยของชาติไทย เนื่องจากให้อำนาจครอบจักรวาล ออกข้อกำหนดห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติการหรืองดการปฏิบัติการได้ ห้ามเข้าหรือให้ออกจากบริเวณพื้นที่ที่กำหนดได้ ห้ามออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ ซึ่งเท่ากับว่า สามารถออกกฏหมายนิติบัญญัติได้ในตัว รวมทั้งประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามพระราชบัญญัตินี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองและกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง เท่ากับว่า กองทัพมีอำนาจซ้อนฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล นอกจากนี้ การปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย ซึ่งเท่ากับว่า กองทัพมีอำนาจเหนือฝ่ายตุลาการโดยไม่ต้องถูกตรวจสอบอีกด้วย


กองทัพในนาม กอ.รมน. ยังมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการและลูกจ้างของกองทัพภาค รวมทั้งข้าราชการ พนักงาน และยังสามารถเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างที่ได้รับคำสั่งให้มาปฏิบัติงานใน กอ.รมน.ภาค และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ กอ.รมน.ภาคได้ ซึ่งนั่นคือการสร้างรัฐซ้อนรัฐขึ้น


YPD จึงขอประณามการกระทำของ 101 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่รับหลักการกฏหมายดังกล่าว เพื่อสืบทอดอำนาจรัฐทหารในประเทศไทย ซึ่งกำลังเหมือนกับสถานการณ์ในประเทศปากีสถานในขณะนี้ ที่มีการประกาศกฏอัยการศึกทั่วประเทศ ซึ่งก็คือ การรัฐประหารซ้อนทางการเมืองนั่นเอง และ มีข้อเรียกร้องให้ สนช. ทั้ง 101 คน ทบทวนจิตสำนึกผิดชอบชั่วดี และพิจารณาตัวเองด้วยการลาออก เพราะนอกจากการสนับสนุน “มติอัปยศ” แล้ว ยังเข้าใจผิดคิดว่า ตนเองรับเงินเดือนจากทหาร หรือคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) อีกด้วย


ประการต่อมาให้กรรมาธิการพิจารณากฏหมายดังกล่าว ใน สนช. เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ ก่อนการพิจารณาวาระ 3 เพื่อตัดสินใจผ่านหรือไม่ผ่านกฏหมายดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศมีส่วนร่วม รับรู้และแสดงความเห็นต่อกฏหมายดังกล่าวอย่างกว้างขวาง

ประการสุดท้าย ขอเรียกร้องให้ประชาชนทั่วประเทศ ร่วมคัดค้านกฏหมายดังกล่าว โดยเฉพาะพรรคการเมืองทุกพรรค ตุลาการทุกสาย นักกฏหมายทุกคน เพราะความมั่นคงของรัฐ ไม่เคยเป็นความมั่นคงของส่วนรวม ตราบใดที่การตีความเรื่องความมั่นคงของชาติ อยู่ในอำนาจการตีความของ กอ.รมน. เฉพาะแต่เพียงผู้เดียว

--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 10/11/2550


http://news.sanook.com/politic/politic_208894.php
สนช.รับหลักการพ.ร.บ.มั่นคงประสงค์เทียบเซ็นเช็คเปล่าผู้อื่นกรอก
โดย คม ชัด ลึก วัน ศุกร์ ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 03:17 น.


สนช.รับหลักการร่างพ.ร.บ.ความมั่นคงฯ101 ต่อ 20 เสียง ด้าน ประสงค์ ตำหนิครม.ขิงแก่ไม่ให้ความสำคัญการอภิปรายทั้งที่เป็นเรื่องใหญ่ เปรียบเซ็นเช็คเปล่าให้ผู้อื่นกรอก นายกรัฐมนตรี-ผบ.ทบ.ประสานเสียง ประเทศไทยจำเป็นต้องใช้ พ.ร.บ.มั่นคง
ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร 101 ต่อ 20 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง ตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว 24 คน ส่วนใหญ่เป็นสมาชิก สนช.ทั้งสิ้น โดยใช้เวลาพิจารณา 7 วัน

ก่อนหน้านี้นายธีรภัทร์เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้แทนคณะรัฐมนตรีนำเสนอร่างกฎหมาย โดยย้ำถึงหลักการและเหตุผลที่จะจัดระบบการบริหารจัดการปัญหาความไม่สงบของบ้านเมือง โดยระบุว่ารัฐบาลได้แก้ไขร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้หลายครั้ง ก่อนส่งให้ สนช.พิจารณาได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการกฤษฎีกาและ ครม.แล้ว และคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ปนช.) ก็เสนอให้แก้ไขหลายประเด็น หากกฎหมายฉบับนี้ประกาศใช้สามารถยกเลิกกฎอัยการศึกที่ยังมีอยู่ในบางพื้นที่ บางอำเภอได้ทันที

ขณะที่น.ต.ประสงค์สุ่นศิริ สมาชิก สนช.อภิปรายตำหนิรมว.มหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงกลาโหม ที่ไม่มารับฟังความเห็นของ สนช. ทั้งๆ ที่มาขออำนาจจากสภาแห่งนี้ไปใช้ ถ้าสภาออกกฎหมายฉบับนี้ จะร้ายแรงไม่แพ้กฎอัยการศึก และ พ.ร.บ.สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีอยู่แล้ว ซึ่ง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีเนื้อหาใกล้เคียงกับ พ.ร.บ.ปราบปรามการกระทำอันป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งถูกยกเลิกไปเมื่อปี 2542 ทั้งนี้เห็นด้วยที่จะให้หน่วยงาน กอ.รมน.มีกฎหมายรองรับชัดเจน แต่ไม่ใช่เอาอำนาจบังคับคนอื่นผิดกฎหมายอาญา แพ่งหรือละเมิดกติกาของศาล

อ่าน พ.ร.บ.นี้ทั้งหมดแล้วเหมือนเซ็นเช็คเปล่าให้ผู้อื่นไปกรอกจำนวนตามใจชอบ วันนี้สังคมมีปัญหาหลายอย่าง แต่รัฐบาลกลับขออำนาจเข้ามาอีก เห็นด้วยที่จะทำบ้านเมืองมั่นคง แต่ต้องเป็นความมั่นคงแห่งรัฐ และประชาชนที่สามารถมีชีวิตอย่างสงบ ปลอดภัยภายใต้กฎหมายที่เป็นธรรม ไม่ใช่เพื่อความมั่นคงของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง น.ต.ประสงค์ กล่าว

พล.อ.โชคชัยหงษ์ทอง และนายเชนทร์ วิพัฒน์บวรวงศ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร โดยเห็นว่า ควรจะมีกฎหมายที่เหมาะสมนำมาใช้กับสถานการณ์บ้านเมืองต่อไป หากยกเลิกกฎอัยการศึก และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินแม้จะกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนบ้าง แต่ก็เป็นบางส่วนเท่านั้น ขณะเดียวกันผู้มีอำนาจ คือนายกรัฐมนตรี มาจากการเลือกตั้งของประชาชน จึงเชื่อว่าจะมีดุลพินิจอย่างเหมาะสมได้

ขณะที่พล.อ.สุรยุทธ์จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวัน เพื่อแสดงความยินดีแก่เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ และผู้มีผลงานดีเด่น โดยตอบคำถามถึงความจำเป็นที่รัฐบาลต้องเสนอร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรว่า การออกกฎหมายฉบับนี้ ไม่ต้องการใช้เฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ แต่เตรียมไว้สำหรับอนาคต เพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาเรื่องการลักลอบเข้าเมือง ปัญหาการค้ายาเสพติด ปัญหาตามแนวชายแดน ปัญหาการค้ามนุษย์ ทั้งนี้รัฐบาลไม่ต้องการใช้กฎอัยการศึก เพราะรุนแรง ล้าหลัง จึงเห็นความจำเป็นต้องมี พ.ร.บ.ความมั่นคง เพื่อมอบอำนาจให้แก่เจ้าหน้าที่ ไว้ป้องกัน และแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น โดยมีกฎหมายรองรับ ทั้งนี้ไม่ต้องการใช้กฎอัยการศึก จึงควรมี พ.ร.บ.ความมั่นคงแทน

ผมเป็นคนที่เสนอร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ด้วยตัวเอง เพราะมีประสบการณ์ตรง กรณีเหตุการณ์ที่ราชบุรี มีกองกำลังจากต่างชาติเข้ามายึดโรงพยาบาล แต่ผมถูกดำเนินคดีในศาลถึง 4 ปี สุดท้ายศาลก็ตัดสินว่าไม่ผิด เราไม่ได้ออกกฎหมายฉบับนี้มาเพื่อบังคับใช้กับคนไทย และไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองในอนาคต นายกรัฐมนตรี กล่าว

ด้านพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก และในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) เป็นประธานสรุปผลปฏิบัติงานประจำปี 2550 และแผนการปฏิบัติงานปี 2551 ว่า ในปี 2551 ไม่ว่ากฎหมาย พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในจะเกิดขึ้นหรือไม่ กอ.รมน.จะเปลี่ยนการทำงานเล็กน้อย เพื่อตอบสนองกับการแก้ปัญหาภัยคุกคามต่างๆ และระลึกเสมอว่า ภัยคุกคามมีจริง และควรมีกฎหมายเฉพาะ

เมื่อถามว่าขณะนี้มีเสียงคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคง เพราะไปกระทบต่อสิทธิประชาชน พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ในเจตนาของตนอยากให้มีกฎหมายแค่เพียงพอให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้


http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P6001585/P6001585.html
มาตรา 18 ช่างร้ายกาจนัก


น.ต.ประสงค์ กล่าวว่า ใน ม.18 ให้อำนาจทหารในการจับกุมและสอบสวนได้เอง ม.21 ที่ระบุว่าการกระทำตามหมวดนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายปกครอง และม.22 ที่ยกเว้นเจ้าหน้าที่ไม่ต้องถูกเอาผิดทั้งทางทางแพ่ง อาญา หรือวินัย ทำให้กฎหมายฉบับนี้ไม่มีระบบการถ่วงดุลอำนาจเลย

http://news.sanook.com/politic/politic_208873.php

*************************************

เกิดเห็นเหล่าอมยิ้มที่สนับสนุนพรรคพลังประชาชนทั้งหลายมีอันตรายต่อความมั่นคง อะไรจะเกิดขึ้นช่วยตอบที

แก้ไขเมื่อ 09 พ.ย. 50 02:28:40

จากคุณ : หนุ่มใหญ่ปะแป้ง - [ 9 พ.ย. 50 02:14:30 A:58.8.98.176 X: ]

ความคิดเห็นที่ 1


กาโหล กาโหล
มาตรา 22 ก็ใช่ย่อยนิ


จากคุณ : หนุ่มใหญ่ปะแป้ง - [ 9 พ.ย. 50 02:17:54 A:58.8.98.176 X: ]


http://www.innnews.co.th/Politic.php?nid=71760
101สนช.ไม่ฟังเสียงค้านรับร่างพรบ.ความมั่นคงแล้ว
โดยทีมข่าว INN News 08 พฤศจิกายน 2550 20:49:46 น.
มติ สนช.101 ต่อ 20 เสียง รับร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคง ตั้ง กมธ.แปรญัตติ ใน 7 วัน


หลังใช้เวลานาน 6 ชั่วโมงในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ซึ่งมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ล่าสุดที่ประชุมสภานิติบัญญัติ หรือ สนช.ได้มีมติ 101 ต่อ 20 เสียง ในการรับหลักการร่างกฎหมายดังกล่าว โดยตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญร่างกฎหมายจำนวน 24 คน อาทิ นายวิษณุ เครืองาม, พลเอกสมเจตน์ บุญถนอม, นายโคทม อารียา โดยกำหนดกรอบเวลาในการแปรญัตติทั้งสิ้น 7 วัน

ทั้งนี้ นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ยืนยันด้วยว่า การเสนอร่างกฎหมายครั้งนี้ไม่ได้เป็นการออกมาเพื่อที่ต้องการคานอำนาจให้กับรัฐบาลชุดนี้ แต่จะเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในอนาคตในการดูแลเรื่องของความมั่นคงภายใน นอกจากนี้กฎหมายดังกล่าวยังไม่ได้ปิดช่องทางในการตรวจสอบอย่างที่มีกังวลด้วย ซึ่งหากใครที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้ร่างกฎหมายฉบับนี้ก็สามารถที่จะฟ้องร้องในกระบวนการยุติธรรมได้


http://news.sanook.com/politic/politic_208873.php
สนช.รับหลักการพรบ.ความมั่นคง101เสียงหลังถกเดือด
โดย คม ชัด ลึก วัน พฤหัสบดี ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 00:00 น.

“สนช.” ถกเดือด “พ.ร.บ.มั่นคง” หนุน-ต้าน “ประสงค์” ถล่มยับ กม. เซ็นเช็คเปล่า ประเคนอำนาจกอ.รมน. “สื่อ-นักวิชาการ” ขวางสุดตัว ขณะที่สายทหารยันต้องมีเครื่องมือให้จนท.สยบความรุนแรง “ธีรภัทร์” ออกตัว แค่ป้องกัน แจงยิบ ภัยร้ายคุกคามพัฒนาหลายรูปแบบจำเป็นต้องมีกฎหมายรับมือ ในที่สุดลงมติรับหลักการ 101เสียง ตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาพิจารณาต่อ

นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เป็นประธานการประชุมสนช. ได้พิจารณาร่างพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรพ.ศ..........ที่เสนอโดยรัฐบาลนายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงเหตุผล ว่า ปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงจากบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่มีหลากหลาย มีความรุนแรงรวดเร็วสามารถขยายตัวจนส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง และสลับซับซ้อน จนอาจกระทบเอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต เป็นภัยอันตรายความสงบสุขประชาชน ฉะนั้นเพื่อให้สามารถป้องกันและระงับภัยที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที ควรกำหนดให้มีหน่วยปฏิบัติงานหลักเพื่อปฏิบัติร่วมกับทุกส่วนราชการ ส่งเสริมประชาชนมีส่วนร่วมรักษาความมั่นคง เสริมสร้างความเข้มแข็งในท้องถิ่นของตน ทั้งในยามปกติ และยามมีสถานการณ์ กำหนดให้มีการควบคุมการใช้อำนาจเป็นการเฉพาะตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์ จะได้แก้ไขสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายธีรภัทร์ กล่าวว่า รัฐบาลได้แก้ไขร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้หลายครั้ง ก่อนที่จะส่งให้สนช.พิจารณาได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการกฤษฎีกาและครม.แล้วและคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญัติแห่งชาติ(ปนช.) ก็เสนอให้แก้ไขหลายประเด็น เช่น ตัดทิ้งเรื่องการห้ามชุมนุม การแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม การกำหนดให้ผู้ทหารสูงสุดเป็นรองผอ.รมน.และให้เสนาธิการทหาร เป็นเลขาธิการกอ.รมน. แทนเสธ.ทบ.

“ปัจจุบันการก่อการร้ายหรือภัยคุกคามได้พัฒนาไปมาก ทั้งอาชญากรรมข้ามชาติ ภัยคุกคามที่ทั้งคาดการณ์ได้และไม่ได้ การแพร่ระบาดของโรคภัยธรรมชาติ ภัยที่เกิดจากการอยู่ร่วมกันในสังคมที่แตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา เผ่าพันธุ์ หรือการแตกความสามัคคีของคนในชาติ ดังนั้นแนวทางการป้องกันก่อนมีภัยจึงสำคัญ แต่โครงสร้างการจัดการปัญหาของรัฐบาลที่มีอยู่ มีปัญหาค่อนข้างมาก มีการทับซ้อนในอำนาจและหน้าที่ระหว่างหน่วยงานผู้ปฏิบัติ โดยเฉพาะกอ.รมน.ยังมีปัญหาในเรื่องอำนาจทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง ทำให้ที่ผ่านมาประเทศต้องตกอยู่ในภาวะคับขันจนต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน”นายธีรภัทร์ กล่าว

ทั้งนี้ หากกฎหมายฉบับนี้ประกาศใช้สามารถยกเลิกกฎอัยการศึกที่ยังมีอยู่ในบางพื้นที่ บางอำเภอได้ทันที รวมทั้งยังมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนใน กทม เชียงใหม่และขอนแก่น รวมถึงเวทีจากนักวิชาการ จนได้ข้อสรุปนำไปสู่การปรับปรุงเรื่องการลิดรอนสิทธิให้ทำเฉพาะที่จำเป็นและต้องใช้กฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เปิดให้ผู้แทนจากฝ่ายการเมืองที่เป็นตัวแทนประชาชนมากำกับดูแล เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการสร้างความมั่นคงกับการให้สิทธิเสรีภาพประชาชน เพื่อให้การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่มีความเหมาะสม


น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ สนช. กล่าวว่า รู้สึกเสียใจที่ผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องความมั่นคงระดับนโยบายทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะรมว.กลาโหม มหาดไทย และต่างประเทศ ไม่มาอยู่ที่นี่เพื่อรับฟังความเห็นของสนช.ทั้ง ๆ ที่ท่านมาขออำนาจจากสภาแห่งนี้ไปใช้ การรักษาความมั่นคงของชาติบ้านเมืองนั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงเนื้อหาสำคัญของมาตรการและวิธีการต่าง ๆ ที่จะนำมาปฎิบัติว่าถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมือง รัฐธรรมนูญ หรือสภาพการเมืองปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขหรือไม่ และสอดรับกับกฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง หรือกฎอัยการศึก พ.ร.บ.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่เป็นเครื่องมือในการรักษาความมั่นคงในปัจจุบันหรือไม่ ถ้ารัฐบาลไม่คำนึงถึงแล้วให้สภาออกกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมาอีก ผลที่เกิดจากพ.ร.บ.ฉบับนี้จะร้ายแรงไม่แพ้กฎอัยการศึก และพ.ร.บ.สถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีอยู่แล้ว และจะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่รัฐธรรมนูญให้หลักประกันไว้

“รัฐบาลและสนช.ชุดนี้ เราต่างมีหน้าที่ในการทำงานของแต่ละฝ่ายแม้ว่าเราจะมาจากที่แห่งเดียวกัน คือเป็นผลผลิตจากการรัฐประหาร ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่การทำอะไรก็ต้องคิดถึงผลประโยชน์แห่งชาติ ไม่ต้องการให้มีพวกแบ่งกลุ่ม ฉวยโอกาส ได้อำนาจไปใช้โดยไม่พิจารณาให้ดี ไม่รอบคอบ ผมพยายามทำหน้าที่เพื่อสร้างหลักนิติธรรม แม้ว่าเราจะเป็นเพื่อนฝูง พี่น้องกัน เรียนด้วยกัน ก็ต้องแยกแยะผลประโยชน์ของชาติเอาไว้ต่างหาก เราต้องทำตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ สนช.ต้องคิดถึงผลประโยชน์ของประชาชนให้มากที่สุด”น.ต.ประสงค์ กล่าว

น.ต.ประสงค์ กล่าวว่า สมัยหนึ่งเรามีพ.ร.บ.ปราบปรามการกระทำอันป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งถูกยกเลิกไปเมื่อปี 2542 เพราะไม่มีคอมมิวนิสต์แล้ว เมื่อไม่มีเหตุการณ์แล้วก็ต้องยกเลิก จากนั้นกองทัพบกก็เสนอกฎหมายความมั่นคงเข้ามาประกอบด้วย 15 มาตรา โดยจำลองมาจากพ.ร.บ.ที่ถูกยกเลิกไป และพ.ร.บ.ความมั่นคงฉบับนี้ก็มีเนื้อหาใกล้เคียง คล้ายคลึงกับที่กองทัพพยายามเสนอมามากแถมยังมีการเพิ่มขยายออกไปอีก อย่างไรก็ตาม ตนเห็นด้วยที่จะให้หน่วยงานกอ.รมน.มีกฎหมายรองรับชัดเจน แต่ไม่ใช่เอาอำนาจบังคับคนอื่นผิดกฎหมายอาญา แพ่งหรือ ละเมิดกติกาของศาล

ตนขอยกบางมาตราที่มีปัญหาในพ.ร.บ.ฉบับนี้ เริ่มจาก ม.6 (5) ย่อหน้าที่สอง ที่ระบุว่าถ้ามีความจำเป็นครม.มีอำนาจแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งใดๆในกอ.รมน.เป็นเจ้าพนักงานได้ ฝากให้รัฐบาลคิดว่าวิธีการถ่ายโอนอำนาจเช่นนี้ถูกต้องหรือไม่ ม.14(4) เรื่องการสั่งให้เจ้าหน้าที่ที่มีพฤติกรรมว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรหรือเป็นอุปสรรคต่อการรักษาความมั่นคงภายในออกจากพื้นที่ที่กำหนด นั้นขอถามว่าอะไรเป็นตัวชี้วัดว่าเจ้าหน้าที่คนใดเป็นภัยต่อความมั่นคง

สำหรับ ม.17 ที่ว่าด้วยเรื่องการให้อำนาจในการออกข้อกำหนดให้ประชาชนห้ามออกนอกเคหสถาน ห้ามเข้าออกบริเวณพื้นที่อาคาร หรือห้ามใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ การใช้อำนาจขนาดนี้ทำให้เกิดปัญหาในปัจจุบันที่มีประชาชน 300 กว่าคนถูกเจ้าหน้าที่นำตัวมาที่ศูนย์ฝึกอาชีพ 4 เดือนและจะขยายเวลาออกไปอีก โดยไม่สามารถกลับบ้านได้ ทำให้เขาไม่สามารถทำมาหากินได้ ถามว่าเขาจะเอาอะไรมาเลี้ยงดูตัวเอง ทั้งที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ทราบได้ว่ากระทำความผิดอะไร

น.ต.ประสงค์ กล่าวว่า ใน ม.18 ให้อำนาจทหารในการจับกุมและสอบสวนได้เอง ม.21 ที่ระบุว่าการกระทำตามหมวดนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายปกครอง และม.22 ที่ยกเว้นเจ้าหน้าที่ไม่ต้องถูกเอาผิดทั้งทางทางแพ่ง อาญา หรือวินัย ทำให้กฎหมายฉบับนี้ไม่มีระบบการถ่วงดุลอำนาจเลย

“ประเทศของเรามาไกลเกิน ที่จะเลี้ยวซ้ายขวากลับไปหาระบบอำนาจนิยม แต่อ่านพ.ร.บ.นี้ทั้งหมดแล้วเหมือนกับเรากำลังเซ็นเช็คเปล่าให้กับผู้อื่นไปกรอกจำนวนเอาเองตามใจชอบ สนช.ไม่สมควรที่จะรับหลักการของกฎหมายนี้ วันนี้สังคมเรามีปัญหาที่กังวลใจหลายอย่างทั้งภาคใต้ ปัญหาเศรษฐกิจ ความแตกแยกในสังคม แทนที่รัฐบาลจะเอาใจใส่แก้ไข กลับเสนอขออำนาจเข้ามาอีก ผมเห็นด้วยที่จะเห็นบ้านเมืองมั่นคง แต่ต้องเป็นความมั่นคงแห่งรัฐ เป็นความมั่นคงของประชาชนที่สามารถจะมีชีวิตอย่างสงบ ปลอดภัย เป็นปกติสุขภายใต้กฎหมายที่เป็นธรรม ไม่ถูกทำร้าย ไม่ใช่เพื่อความมั่นคงของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง”น.ต.ประสงค์ กล่าว พล.อ.โชคชัย หงส์ทอง สนช. อภิปรายสนับสนุนว่า ความมั่นคงเปรียบเหมือนออกซิเจนหายใจ ถ้าไม่มีถึงจะรู้สึก และจะไปซื้อหาก็ไม่ทัน ฉะนั้นความจำเป็นที่ต้องมีกฎหมายฉบับนี้ ในอดีตประเทศมีพ.ร.บ.ป้องกันคอมมิวนิสต์ พ.ร.บ.กฎอัยการศึก และพ.ร.บ.ผู้อำนวยความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ทำให้เจ้าหน้าที่ป้องกันและแก้ไขปราบปรามตอบโต้เหตุการณ์ต่าง ๆ สงบลงได้ แต่ก็เป็นยาแรงไม่เหมาะกับสถานการณ์ จึงเป็นที่มาของกฎหมายฉบับนี้ เป็นยาเบาหน่อยและทุกฝ่ายยอมรับได้ เอาไปแทนกฎอัยการศึกและพ.ร.ก.ภาวะฉุกเฉินที่ประชาชนเรียกร้องให้ยกเลิก

ทั้งนี้ฝ่ายทหารปรารถนา มุ่งมั่นที่จะให้ประชาชนเป็นสุขและสงบสุข ไม่ได้ต้องการแสวงหาอำนาจอันใด เพียงแต่ต้องการเครื่องมือปฏิบัติภารกิจตามที่ประชาชนมอบอำนาจไว้ให้ทหารในรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้เรื่องสิทธิเสรีภาพ ทหารตระหนัก และต้องการปกป้องคุ้มครองคนส่วนใหญ่ไม่ให้คนกลุ่มน้อยมาละเมิดสิทธิ์ กรณีนี้ประชาชนผู้บริสุทธิ์ส่วนใหญ่จะได้ประโยชน์ คนไม่ดีเท่านั้นที่จะลำบาก

พล.อ.โชคชัย กล่าวต่อว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ ตัดเรื่องละเมิดสิทธิ์ออกเยอะแล้ว แต่ยอมรับว่ามีอยู่บ้าง แต่เพื่อความสงบสุข ประชาชนก็ต้องยอมรับการตัดสิทธิ์บ้าง และกฎหมายก็มีข้อยกเว้น ทั้งนี้เมื่อสภาพิจารณาในวาระ 1 ก็ยังต้องมีการพิจารณาปรับแก้ไข ข้อโต้แย้งที่ไม่ดี ก็ไปว่ากันประนีประนอมในขั้นกรรมาธิการได้ให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย เชื่อว่าคงไม่มีเจ้าหน้าที่คนใดจะออกกฎหมายมาเพื่อให้ประชาชนเกลียด ซึ่งขณะนี้ตนพอรับหลักการของกฎหมายได้

นายเชนทร์ วิพัฒน์บวรวงศ์ สนช.และอดีตผู้ว่าราชการจังหวัด อภิปรายว่า ขอสนับสนุนกฎหมายฉบับนี้เพราะประเทศไทยประสบปัญหาสถานการณ์ความมั่นคง ซึ่งหลายประเทศที่เจอปัญหาแบบนี้ก็มีกฎหมายลักษณะดังกล่าว ทั้งนี้เมื่อดูหลักการแล้วก็เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย มีนายกรัฐมนตรีที่มาจากประชาชนเป็นผอ.รมน.และการตัดสินใจใดๆก็มาจากมติครม. รวมถึงมีการเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วม โดยมีกอ.รมน.ภาค ที่มีประชาชนเป็นที่ปรึกษาจำนวนมากพอสมควร

หลักการพวกนี้จึงสะท้อนว่ากฎหมายไม่ต้องการละเมิดสิทธิ์ประชาชน และยังมีหลักการป้องกันผู้ใช้อำนาจ ใช้อำนาจเกิน รัฐธรรมนูญก็กำหนดไว้แล้วว่าประชาชนสามารถฟ้องศาลได้ ซึ่งข้อดีของกฎหมายนี้เพื่อให้ฝ่ายความมั่นคงมีเครื่องมือการดูแลความมั่นคงได้ทันท่วงที เพราะมีการกำหนดองค์กรรับผิดชอบ ดูแลความมั่นคงอย่างเป็นจริงเป็นจัง และมีการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจน

นางบัญญัติ ทัศนียาเวช สนช. กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจเด็ดขาดกับเจ้าหน้าที่ในการปราบปรามยับยั้งภัยความมั่นคง แต่คำว่าภัยความมั่นคงในกฎหมายฉบับนี้ตีความได้ทุกกรณี ดังนั้น ไม่น่าจะนำกฎหมายนี้มาบังคับในช่วงบ้านเมืองกำลังจะก้าวพ้นจากการถูกตราหน้าว่าเป็นเผด็จการจากกรณีรัฐประหาร 19 ก.ย. นอกจากนี้ประเทศกำลังใช้รัฐธรรมนูญ 50 ที่ให้สิทธิเสรีภาพประชาชนมากที่สุดและกำลังจะเข้าสู่การเลือกตั้งเพื่อกลับคืนสู่ระบอบประชาธิปไตย

“ แต่กฎหมายนี้ได้ทำลายบรรยากาศการให้สิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยสิ้นเชิงแสดงถึงแก่นแท้รัฐบาลที่ต้องการมีอำนาจอยู่ในมือ ไม่แน่ใจว่าการเลือกตั้งจะถูกแทรกแซงหรือไม่ แสดงให้เห็นความไม่จริงใจของรัฐบาลที่จะคืนอำนาจให้ประชาชน ดิฉันไม่เห็นด้วยและรับหลักการไม่ได้ ” นางบัญญัติ กล่าว

นายโคทม อารียา สนช. อภิปรายว่า การปรับแก้ร่างฯหลายครั้งมาจนเข้าสภา แสดงถึงความใจกว้างของฝ่ายทหาร ครม. วิปรัฐบาล ที่ยอมรับหลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ยอมรับหลักการการมีส่วนร่วม และตัดเรื่องการลิดรอนสิทธิออกไปหลายเรื่อง มีการพุดว่าพ.ร.บ.นี้เป็นพ.ร.บ.ติดหนวด ตอนนี้ก็เหมือนโกนหนวดออกไปบ้างแล้ว อย่างไรก็ดี กฎหมายฉบับนี้ยังมีส่วนเสียอยู่อีกหลายประการ

“ขอเรียนว่าที่ผ่านมาการใช้กฎหมายประเภทนี้ไม่เคยสิ้นสุด เช่น พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และ กฎอัยการศึก ที่ประกาศแล้วแต่ไม่เคยยกเลิก กลายเป็นว่ามีการใช้อำนาจพิเศษจนเกือบเป็นเรื่องปกติ ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดความไม่มั่นใจกับประชาชนที่คิดว่าต้องอยู่ในสภาวะที่เจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจมากกว่าปกติ โดยไม่มีหลักประกันได้ว่า จะไม่มีเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจเกินขอบเขต ซึ่งประชาชนคงไม่สามารถไว้ใจเจ้าหน้าที่ได้ เพราะมีบทเรียนมาแล้วในหลายกรณี”นายโคทม กล่าว

นายสุรพล นิติไกรพจน์ สนช. กล่าวว่า การมีกฎหมายหรือระเบียบที่จะนำไปสู่การป้องกันระบอบการปกครองมิให้ถูกกระทบกระเทือนเป็นสิ่งที่ปฎิเสธไม่ได้มีความจำเป็น แต่ปัญหาอยู่ที่ว่ามาตรการทางกฎหมายหรือกลไกต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมานั้นมีความเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์การเมืองที่เป็นอยู่หรือไม่ เพราะขณะนี้กฎหมายลักษณะนี้อยู่แล้ว 2 ฉบับไล่จากหนักไปเบาคือ กฎอัยการศึกและพรบ.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้เข้าใจว่าพ.ร.บ.ฉบับนี้ต้องการวางมาตรการระดับ 3 ที่อาจจะไม่ถึงขั้นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศกฎอัยการศึก ดังนั้น หากเจตนาเป็นเช่นนั้น อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ก็ต้องต่ำกว่ากฎหมายทั้ง 2 ฉบับที่มีอยู่

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาพ.ร.บ.ฉบับนี้ทำให้เห็นปัญหาการให้อำนาจของเจ้าหน้าที่ 3 ประการ คือ 1. การนิยามสถานการณ์ที่จะนำบทบัญญัตินี้มาใช้ ม.14 เขียนว่า “เหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร” มีความหมายกว้างขวางมาก ไม่มีนิยามหรือเงื่อนไขที่ชัดเจน ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ที่ทุกกรณีที่ผู้มีอำนาจมีดุลพินิจเห็นชอบก็จะนำไปสู่การใช้กฎหมายนี้ได้ทันที

2.ในเรื่องการมอบอำนาจตาม ม. 17 ได้เขียนให้อำนาจเจ้าหน้าที่กว้างขวางมากกว่าพ.ร.บ.ฉุกเฉิน เช่น (2) การห้ามเข้าหรือออกจากบริเวณพื้นที่ และ(6) ให้บุคคลปฎิบัติหรืองดเว้นการปฎิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่ม. 18 ถึงขนาดให้ผู้ปฎิบัติงานในกฎหมายนี้เป็นพนักงานสอบสวนตามกฎหมายอาญาด้วย ระหว่างการบังคับใช้กฎหมาย ทำให้อำนาจหน้าที่เจ้าหน้าที่ ไปไกลมาก โดยไม่มีกรอบระยะเวลา แม้แต่พ.ร.บ.ฉุกเฉิน ซึ่งมีมาตรการที่แรงกว่า ยังมีกรอบระยะเวลา 3 เดือนให้ครม.ทบทวนว่าจะใช้ต่อหรือไม่

และ3.ทำให้การรับหลักการไปก่อนแล้วแก้ไขทีหลังมีปัญหา ใน ม.22 หลังการปฎิบัติหน้าที่เสร็จสิ้น กำหนดให้จนท.ไม่ต้องรับผิดชอบในทุกกรณีที่ปฎิบัติตามพ.ร.บ.นี้จะมีความฉุกเฉินตามครม.หรือไม่ก็ตาม สงสัยว่าเหตุใดจึงงดเว้นการรับผิดอาญาซึ่งเป็ความรับผิดส่วนบุคคล ใครไปทำร้ายบุคคลอื่น บุคคลนั้นก็ต้องต่อสู้ด้วยหนทางอาญา เท่ากับเขียนยกเว้นอำนาจศาลยุติธรรมไปด้วย

“ผมเห็นความจำเป็นว่าประเทศต้องมีกฎหมายเพื่อคาวมมั่นคง แต่ไม่ใช่วันนี้เราไม่มี เรามีอยู่แล้วสองฉบับ และแน่นอนว่าเราต้องมีการเขียนกฎหมายให้อำนาจศอ.บต.และให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารที่ทำงานตามแนวชายแดน แต่ไม่จำเป็นต้องมีอำนาจมากที่เป็นอยู่ขณะนี้ ถ้ากฎหมายนี้ออกมาอย่างนี้ คือเช็คที่ไม่กรอกวันที่ จำนวนเงิน เว้นแต่ลายเซ็นผู้สั่งจ่ายเท่านั้น ขอให้สนช.พิจารณาใคร่ครวญก่อนที่จะรับหลักการ”นายสุรพล กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากนั้นมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางส่วนใหญ่เป็นผู้คัดค้านไม่ว่าจะเป็นนายสุริชัย หวันแก้ว นายภัทระ คำพิทักษ์ นายโสภณ สุภาพงษ์

ผู้สื่อข่าวรายงานภายหลังจากที่ที่ประชุมสนช.ถกเรื่องร่างพรบ.กฏหมายความมั่นคงซึ่งล่าสุดได้ลงมติรับหลักการพรบ.ความมั่นคง 101 ต่อ 20 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุม 120 คน

สนช. ก่อนรับร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคง

http://www.innnews.co.th/Politic.php?nid=71571
หัวหน้าสำนักงานคมช.แจงกฏหมายความมั่นคง

โดยทีมข่าว INN News 07 พฤศจิกายน 2550 18:40:49 น.
หัวหน้าสำนักงานเลขาธิการ คมช. ยืนยัน ร่างกฏหมายความมั่นคงมีการนำเสนอมานานแล้ว ไม่ใช่กฏหมายเฉพาะกิจเพื่อการเลือกตั้ง ครั้งนี้


พล.อ.สมเจนต์ บุญถนอม สนช.และหัวหน้าสำนัก งานเลขาธิการ คมช.ยืนยันว่า การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายใน ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น และกฏหมายฉบับนี้มีการนำเสนอมานานแล้ว และถือเป็นความจำเป็นที่จะนำมาใช้ เพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะการมีกฎหมายเพื่อใช้เป็นเครื่องมือของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติ งาน ทั้งนี้หากที่ประชุม สนช.รับหลักการ ก็คาดว่าจะใช้เวลาในการแปรญัตติราว 7 วัน ตามข้อบังคับ โดยจะมีการทบทวนในเรื่องของอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม มีมาตรการในการควบคุมไม่ให้เจ้าหน้ากระกระทำการที่ไม่ถูกต้อง

ขณะที่บรรยากาศบริเวณด้านหน้าอาคารรัฐสภานั้น ได้มีกลุ่มองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนมาชุมนุมกัน เพื่อคัดค้านการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เพราะเห็นว่าเป็นการละเมิด สิทธิมนุษยชน มีการให้อำนาจกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในหรือ กอ.รมน.มากจนเกินไป


http://www.innnews.co.th/Politic.php?nid=71504
ตัวแทนกลุ่มคัดค้านพ.ร.บ.ความมั่นคงฯยื่นหนังสือปธ.สนช.


โดยทีมข่าว INN News 07 พฤศจิกายน 2550 12:25:45 น.
ตัวแทนกลุ่มคัดค้านร่างพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร 13 คน เข้ายื่นหนังสือต่อประธาน สนช. ให้ยับยั้ง
การพิจารณา ชี้ ควรรอสภาฯ ที่มาจากการเลือกตั้ง


ขณะนี้ ตัวแทนกลุ่มคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน. 13 คน นำโดยนายแพทย์เหวง โตจิราการ นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย นายจรัล ดิษฐาอภิชัย ได้เข้าไปยังอาคารรัฐสภา เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านและจดหมายเปิดผนึกต่อ


นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน สนช. เพื่อขอให้ยับยั้งการพิจารณาร้าง พ.ร.บ.ดังกล่าว และขอให้เรื่องนี้เป็นการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ที่มาจากการเลือกตั้ง หลังวันที่ 23 ธ.ค.นี้

ขณะที่ กลุ่มสมาชิก ซึ่งส่วนใหญ่สวมใส่เสื้อแดง ราว 60 คน ได้เคลื่อนตัวมาป่าวร้อง บริเวณหน้าประตูรัฐสภาด้วย ด้านกลุ่มคัดค้าน พ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน ก็ยังคงปราศรัยแข่งกับเสียงโห่ร้อง และเสียงเพลงของกลุ่มคัดค้าน พ.ร.บ.กอ.รมน. อย่างต่อเนื่องเช่นกัน ขณะที่การจราจรเริ่มติดขัดเล็กน้อยแล้ว



http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=10128&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai
‘กฎหมายความมั่นคง’ ร้ายแรงยิ่งกว่า ‘ระบอบทักษิณ’


เมื่อวันที่ 5 พ.ย. 50 เครือข่ายองค์กรสิทธิมนุษยชน องค์กรภาคประชาชน ร่วมกับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดเสวนาโต๊ะกลม เรื่อง “รวมพลังคัดค้าน พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ” ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย


หลังจากที่วิปรัฐบาลสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ตีกลับ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ไปให้รัฐบาลพิจารณาใหม่ แต่คณะรัฐมนตรีกลับมีมติยืนยันตามร่างเดิม แล้วส่งซ้ำกลับไปให้สนช.พิจารณา ในวันพุธที่ 7 พ.ย.นี้


ทั้งนี้ เนื้อหาหลักของ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ดังกล่าว

1. ให้อำนาจครอบจักรวาล (มาตรา 15) ออกข้อกำหนดห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติการหรืองดการปฏิบัติการได้ ห้ามเข้าหรือให้ออกจากบริเวณพื้นที่ที่กำหนดได้ ห้ามออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ (มาตรา 17) ซึ่งเท่ากับว่า สามารถออกกฏหมายนิติบัญญัติได้ในตัว (กอ.รมน.สามารถทำหน้าที่แทนฝ่ายนิติบัญญัติ)

2. จะแก้ไขให้ผอ.รมน.เป็นนายกรัฐมนตรี แต่มาตรา ๑๐ ยังให้แม่ทัพภาคเป็น “ผอ.รมน.ภาค” เหมือนเดิม ซึ่งมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการและลูกจ้างของกองทัพภาค รวมทั้งข้าราชการ พนักงาน และยังสามารถเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างที่ได้รับคำสั่งให้มาปฏิบัติงานใน กอ.รมน.ภาค และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ กอ.รมน.ภาคได้ (รัฐซ้อนรัฐ-โดยทหาร)

3. บรรดาข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามพระราชบัญญัตินี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองและกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (มาตรา 22) (กอ.รมน.มีอำนาจเหนือฝ่ายบริหาร)

4. ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย (มาตรา 23) (กอ.รมน.ทำหน้าที่แทนฝ่ายตุลาการ)


‘ยักษ์มีกระบอง’ ผีร้ายยิ่งกว่าทักษิณ

นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อดีตเลขานุการ กมธ.ร่างรัฐธรรมนูญ และคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาัลัยธรรมศาสตร์กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้มีปัญหาสามประเด็น คือ เป็นกฎหมายครอบจักรวาล เป็นกฎหมายที่ทำลายหลักประกันเรื่องสิทธิเสรีภาพและระบบตรวจสอบ และเป็นกฎหมายที่ทำลายระบบราชการโดยปกติ

เช่น การไม่นิยามคำว่าภัยที่เกิดขึ้น ซึ่งถ้ารัฐบาลตีความกว้างเกินไป ก็จะไปรุกรานสิทธิเสรีภาพ เช่นเดียวกับพ.ร.บ.ปี 2545 ที่ให้นายกรัฐมนตรี สั่งให้รัฐมนตรีให้อำนาจโดยระบบพิเศษแทนระบบปกติ เหมือนกับการสร้างยักษ์ที่มีกระบองตัวใหม่ และยังมีการเพิ่มรายได้ หรือเพิ่มรายได้พิเศษ ทำให้ระบบแบบนี้จะย้อนยุคไป 30-50 ปี เกิดระบบตรวจสอบของไทยที่ไม่เข็มแข็ง

อดีตเลขานุการร่างรัฐธรรมนูญกล่าวว่า ในฐานะที่ตนเป็นเลขาฯ ยกร่างรธน.มา แม้จะไม่ภูมิใจเรื่องภาคการเมืองในรัฐธรรมนูญ แต่ก็มีความภูมิใจที่รัฐธรรมนูญ 2550 เป็นรัฐธรรมนูญที่รับรองสิทธิเสรีภาพเอาไว้มากที่สุด แต่หลายมาตราในกฎหมายความมั่นคงนี้ กลับจำกัดสิทธิเสรีภาพขัดกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการย้อนยุคไป

นอกจากนี้ ในมาตรา 22 และ 23 ที่กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานตามพ.ร.บ.นี้ ไม่อยู่ในบังคับของศาลปกครองนั้น ต้องขัดกับหลักรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน

เขากล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้ทำลายรากฐานสิทธิเสรีภาพประชาชนที่วางไว้ในระบบนิติธรรมที่ตราไว้ในมาตรา 3 (2) ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่ควรให้องค์กรใดองค์กรหนึ่งเข้ามามีอำนาจ เหมือนรัฐบาลทักษิณ ที่ควบรวมอำนาจเอาไว้เป็นศูนย์กลาง ตรงนี้ที่ถือว่าเป็นการทำลายระบบศาลในการฟ้องร้อง

นายสมคิดยังกล่าวว่า ถ้าถามตน กฎหมายความมั่นคงร้ายแรงยิ่งกว่าระบอบทักษิณเสียด้วยซ้ำ เพราะระบอบทักษิณไม่ได้ห้ามคนอื่นตรวจสอบ แม้ในหลวงยังเคยตรัสว่า องค์กรอื่นได้ถูกทำลายหมดแล้ว ต้องให้องค์กรศาลตรวจสอบ ซึ่งคนร่างกฎหมายนี้คงรู้ดี จึงได้ทำลายระบบศาลไป

เขายังกล่าวว่า อาจจะพยายามหารือกับคณะนิติศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยหลายๆ แห่ง ว่าอาจจะมีการแถลงการณ์ร่วมกันเพื่อคัดค้านกฎหมายฉบับนี้ โดยเบื้องต้น ได้ประสานงานกับคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาัลัยแล้ว


สำคัญคือ ปฏิรูปสถาบันด้านความมั่นคง

ด้านฉันทนา บรรพศิริโชติ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า ลักษณะของกฎหมายฉบับนี้ เอื้อให้มีการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ คือ การใช้อำนาจทางทหาร ซึ่งเป็นผู้ที่กุมกำลัง ทำให้สถาบันต่างๆต้องอยู่ภายใต้ปฏิบัติการของการใช้กำลังและอำนาจ

โดยฉันทนาตั้งข้อสังเกตว่า สถานการณ์การเมืองปัจจุบันเอื้อให้มีการใช้พ.ร.บ.เหล่านี้แค่ไหน ในหลายประเทศที่มีกฎหมายลักษณะนี้ อาจจะมีการอ้างเหตุเรื่องความมั่นคง แต่กับประเทศไทยคงไม่สามารถใช้ข้ออ้างเช่นว่าได้ ไม่เพียงเท่านั้น แนวโน้มของอำนาจที่จะเกิดขึ้น ก็ไปในทางมีเพื่อให้อีกฝ่ายสยบ เป็นกฎหมายที่อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือในการประหัตประหารฝ่ายตรงข้าม


นักวิชาการจากคณะรัฐศาสตร์กล่าวต่อไป ถึงเรื่อง ‘สถาบันที่จะมาดูแลความมั่นคง’ ซึ่งตามพ.ร.บ.มั่นคง

ฯ กลับกำลังพูดถึงสถาบันที่ ‘ไม่ได้’ รับความไว้วางใจอย่างสูง ซึ่งไมไ่ด้เป็นเพียงความหวาดระแวงธรรมดา แต่สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่นั้น ไม่ว่าจะเรื่องการแก้ปัญหาสามจังหวัดภาคใ่้ต้ ปัญหาคนหาย และปัญหาอีกจำนวนมากที่ไร้คำตอบ ล้วนสะท้อนการทำงานของสถาบันควา่มมั่นคงหลักๆ หลายหน่วยงาน ที่ยังไม่อยู่ในร่องในรอย อันยิ่งจะนำไปสู่ความไม่ไว้วางใจ

“ไม่เข้าใจว่าในขณะที่สถาบันทหารจต้องการได้รับความไว้วางใจ แล้ัวทำไมยังออกพ.ร.บ.นี้ออกมา มันไม่เป็นประโยชน์ต่อสภาพปัจจุบันนี้เลย” ฉันทนากล่าว

ฉันทนากล่าวว่า สถานการณ์ปัจจุบัน เราจำเป็นต้องพูดเรื่องการปฏิรูปสถาบันด้านความมั่นคงของประเทศ (Security section reform) ต้องไม่เพียงแค่ต้องปรับและปฏิรูปเท่านั้น แต่ยังต้องพูดเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันความมั่นคงกับประชาชนด้วย เพราะเราคงไม่สามารถพูดเรื่องความหมายความมั่นคงที่อยู่ในมือคนเพียงไม่กี่คน


กฎหมามป้องกันภัยที่ไม่รุนแรงมาก เพื่อหาที่ยืนให้กอ.รมน.

ไพโรจน์ พลเพชร เลขาธิการเครือข่ายสิทธิมนุษยชน (สสส.) กล่าวว่า เจตนาของการผลักดันกฎหมายฉบับนี้ คือต้องการจัดตั้งกอ.รมน. ให้มีฐานะทางกฎหมาย เนื่องจากที่ผ่านมา กอ.รมน. เป็นองค์กรที่ถูกจัดตั้งด้วยคำสั่งนายกฯ ตามกฎหมายการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งเริ่มขึ้นปี 2512 เพื่อปราบปรามคอมมิวนิสต์ แล้วก็อยู่ยาวจนคอมมิวนิสต์หมดอิทธิพล แม้จนยกเลิกพ.ร.บ.คอมมิวนิสต์ไปเมื่อปี 2542 กอ.รมน.กลับยังคงอยู่ ซึ่งปรากฏว่า ในสมัยนั้นที่นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้มีคำสั่งปรับบทบาทกอ.รมน. จากที่เคยทำหน้าที่ปราบปรามภัยคุกคาม ให้มาทำหน้าที่เกี่ยวกับความปลอดภัย เช่น ภัยชายแดน ภัยที่เกี่ยวกับต่างประเทศ ก่อนจะมีการปรับอีกครั้งในสมัยรัฐบาลทักษิณ และปรับครั้งล่าสุดสมัยนายกฯ สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่ปรับให้อำนาจของกอ.รมน.ครอบคลุมกว้างขวางขึ้น

เขากล่าวว่า เดิม หากมีภัยคุกคาม ภัยรุนแรง ก็มีเครื่องมือ ไม่ว่าจะกฎอัยการศึก หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งนายกรัฐมนตรีและทหารมีบทบาทเต็มที่อยู่แล้ว แต่พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ นี้ ออกมาเพื่อหาที่ยืนให้กับกอ.รมน.

ไพโรจน์กล่าวว่า ดังนั้น เมื่อมีเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงภายใน แต่ไม่รุนแรงถึงขนาดต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศกฎอัยการศึก ครม. จะมอบอำนาจให้เรื่องนั้นๆ เป็นภารกิจของกอ.รมน. ให้มีหน้าที่ ป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง ที่จะเกิดเหตุที่กระทบความมั่นคง เพียงแต่เป็นเหตุกระทบที่ไม่รุนแรงขนาดต้องประกาศกฎอัยการศึกหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน

นายมูฮัมหมัด อาลาดี เด็งนิ รองเลขาฯ สนนท. กล่าวว่า จากการหารือใน สนนท. เชื่อว่ากฎหมายจะเป็นการทำลายการเมืองภาคประชาชน ผูกมือและมัดประชาชนโดยสะดวก โดยเฉพาะในสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในกรณีของมาตรา 19 ที่ระบุถึงการจับกุมและสามารถนำตัวไปฝึกอบรม จะเกิดผลกระทบโดยเจ้าหน้าที่ใช้กฎหมายกักขังได้ถึง 6 เดือน อย่างไรก็ตามนักศึกษาไม่เห็นด้วยที่จะให้ พ.ร.บ.ฉบันนี้ออกมา โดยเห็นว่า สนช. ไม่มีสิทธิที่จะนำกฎหมายนี้ออกมา เพราะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง

ด้านนายสาวิตต์ แก้วหวาน เลขาธิการเครือข่ายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) กล่าวว่า การถูกใส่ร้ายป้ายสี ประชาชนที่เป็นเป้า การต่อสู้จะเป็นปัญหาใหญ่ ประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิ์จะเอาเครื่องมือตรงไหนมาเคลื่อนไหว หากรัฐเอาสัมปทานไปขาย ประชาชนที่สู้จะขัดขวางอย่างไร ตรงนี้ต่อไปจะเอาอย่างไร จะมีทางเลือกอื่นเพื่อให้ประชาชนพิสูจน์สิทธิ์ได้อย่างไร เพราะสิทธิของคนไทยโดยการเคลื่อนไหวจริง ๆ เราจะต้องดูด้วยว่า จะไปพูดถึงประชาชนทั้งหมดไม่ได้ เพราะประชาชนสว่นใหญ่ได้รับผลกระทบจากน้ำมันแพง ที่หาเช้ากินค่ำ การที่จะหามาตรการจะต่อสู้จะทำกันอย่างไรเพราะประชาชนไม่มีช่องทางการต่อสู้ ดังนั้นสถานการณ์นี้เราจะต้องมีความสามัคคี ที่จะตื่นตัวในการใช้สิทธิเสรีภาพในการถูกละเมิดอย่างไร

ทั้งนี้ ในวันพุธที่ 7 พ.ย.นี้ เครือข่ายภาคประชาชนและเครือข่ายนักวิชาการ จะร่วมแสดงพลังคัดค้านพ.ร.บ.ความมั่นคง โดยไปยื่นหนังสือถึงประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ


สังคมที่ทหารเป็นใหญ่

ด้านแบรด อาดัมส์ ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียขององค์การฮิวแมนไรท์วอทช์ ออกแถลงการณ์เรื่อง 'กฏหมายความมั่นคงภายในคุกคามประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน' โดยกล่าวว่า “การที่รัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งของทหารเสนอกฏหมายความมั่นคงภายในเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยตกอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการใช้อำนาจตามอำเภอใจ”

ทั้งนี้ องค์การฮิวแมนไรท์วอทช์แสดงข้อกังวลว่า การที่กฏหมายความมั่นคงภายในจะแต่งตั้งให้ผู้บัญชาการทหารบกเป็นรองผู้อำนวยการ กอ.รมน. ขณะที่ให้แม่ทัพภาคมีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ กอ.รมน.ภาคต่างๆ นั้น จะทำให้ทหารเข้าแทรกแซงการบริหารราชการโดยพลเรือนได้ในทุกระดับ

แบรด อาดัมส์ กล่าวว่า “กฏหมายความมั่นคงภายในดูเหมือนจะมุ่งขยายอำนาจของทหารต่อไปจนถึงภายหลังจากที่มีการเลือกตั้งไปแล้ว” “แนวโน้มที่รัฐบาลชุดถัดไปจะอยู่ในสภาพอ่อนแอ และต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากทหารนั้น เป็นเงื่อนสำคัญที่ทำให้ทหารฉวยโอกาสพยายามสถาปนาอำนาจเป็นศูนย์กลางในการบริหารราชการ และการตัดสินใจของรัฐบาลผ่านการบังคับใช้กฏหมายความมั่นคงภายใน”

แบรด อาดัมส์ กล่าวว่า “อำนาจตามที่ปรากฏอยู่ในเนื้อหาของร่างกฏหมายความมั่นคงภายในฉบับนี้ แสดงถึงความพยายามของรัฐบาลที่จะสถาปนาอำนาจของ กอ.รมน. ซึ่งอยู่เหนือการตรวจสอบควบคุมตามกระบวนการประชาธิปไตย การกระทำเช่นนี้ทำให้ดูเหมือนประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ระบอบเผด็จการ มากกว่าที่จะเป็นการฟื้นฟูประชาธิปไตย นายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ ควรที่จะพิจารณาอย่างรอบคอบว่า เขาต้องการจะทิ้งสิ่งนี้ไว้เป็นมรดกบาปให้กับคนรุ่นหลังหรือไม่” “ถ้าหากนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ เป็นนักปฏิรูปจริงอย่างที่กล่าวอ้างไว้ เขาก็ควรที่จะระงับร่างกฏหมายความมั่นคงภายในฉบับนี้ในทันที”

--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 6/11/2550


http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=10009&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai

ประวิตร โรจนพฤกษ์ : ‘พ.ร.บ.ความมั่นคง’ กฎหมายเถื่อน จากรัฐเถื่อน ถึงสภาเถื่อน



ประวิตร โรจนพฤกษ์



ภาพพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ พูดปกป้องความพยายามผลักดันร่าง พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายใน รอบที่สาม ทางข่าวทีวีช่อง 7 กลางดึกคืนวันจันทร์ (22) ที่ผ่านมา ช่างดูซื่อๆ เหมือนไม่มีอะไรเป็นพิเศษ แต่แท้จริงแล้ว มันมิมีอะไรซื่อเกี่ยวกับการกระทำครั้งนี้เลย

ที่พูดเช่นนี้ เพราะนี่คือรัฐบาลเถื่อน (ที่มาจากรัฐประหาร) ซึ่งกำลังผลักดันกฎหมายเถื่อน ที่จะทำให้อำนาจเผด็จการเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย และคงจะได้รับความเห็นชอบจากสภาเถื่อน (ซึ่งแต่งตั้งโดยทหาร) ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า

Welcome to Myanmar ยินดีต้อนรับสู่สิงคโปร์ หรือระบอบการปกครองทางการเมืองแบบจีน แต่สไตล์ไทยๆ - ยินดีต้อนรับสู่รัฐเผด็จการทหารที่กฎอัยการศึก หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินไม่จำเป็นต้องประกาศ เพราะมันจะคงอยู่ทุกวินาที ทุกวัน ทุกเดือน และทุกปี ภายใต้ พ.ร.บ.ความมั่นคงนี้ เสมือนหนึ่งประเทศอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกอย่างถาวรตลอดไป

และใครจะเป็นเหยื่อ พ.ร.บ.ใหม่นี้เป็นคนแรก ในเมื่อผู้มีอำนาจในรัฐจะอ้างกฎหมายตัดสินด้วยตนเองว่า ใครจะเป็น ‘คนชั่ว’ ในความคิดของพวกเขา (ผู้นำรัฐประหาร นายสนธิ บุญยรัตกลิน ได้เคยบอกเองว่า ‘คนดี’ ไม่ต้องกลัวกฎหมายอย่างนี้ และกฎหมายนี้เอาไว้ฟัน ‘คนชั่ว’)

ต่อไปนี้ คุณอาจจะกลายเป็น ‘คนชั่ว’ หากคุณต่อต้านรัฐหรือวิจารณ์รัฐ ไม่ว่าเหตุผลในการต่อต้านของคุณจะดี มีน้ำหนัก หรือชอบธรรม เพียงไร และคุณจะกลายเป็น ‘คนชั่ว’ หากคุณต่อต้าน พ.ร.บ. นี้

ถึงตอนนั้น คนชั่วจะกลายเป็น ‘คนดี’ และผู้รักประชาธิปไตยและความเป็นธรรมจะถูกตราหน้าเป็น ‘คนชั่ว’ เพราะกฎหมายชั่วๆ ได้ให้อำนาจผู้คุมรัฐในการกระทำชั่ว โดยการตราหน้าใครก็ได้ ว่าเป็น ‘คนชั่ว’ โดยมิต้องผ่านการพิจารณาของอัยการหรือศาล – จริงๆ แล้ว สามารถพิจารณาฟันธงโดยไม่ต้องผ่านใครด้วยซ้ำไป ยกเว้นตัว ผอ.และรอง ผอ.รมน. (ซึ่งก็คือ นายกฯ และ ผบ.ทบ. นั่นเอง) ปัญหาสำคัญอันหนึ่งของร่าง พ.ร.บ. นี้ ได้แก่การให้อำนาจคนเพียงสองคนตัดสินว่าใครดี ใครชั่วนั่นแหละ

ร่างใหม่ฉบับ ‘ปรับปรุง’ อ้างว่า ประชาชนมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย หากถูกกระทำโดยมิชอบธรรมโดยมิต้องไปฟ้องศาล ปัญหาก็คือ กระบวนการเรียกร้องค่าเสียหายมีความโปร่งใสเป็นธรรมเพียงไร และถึงแม้กระบวนการนี้เป็นกลางและเป็นธรรมจริง แต่ก็ไม่มีอะไรที่จะชดเชยความเสียหายที่เกิดจาก พ.ร.บ. นี้ ซึ่งจะทำให้ประชาชน พลเมืองอยู่ในภาวะแห่งความกลัวตลอดเวลา กลัวว่าไม่รู้เมื่อไหร่บ้านอาจถูกค้น ตนอาจถูกจับ ชุมนุมอาจถูกห้าม สื่ออาจถูกห้ามรายงาน การใช้มือถือและอินเทอร์เน็ตอาจถูกทำให้ผิดกฎหมาย แถมยังฟ้องร้องศาลปกครองก็ไม่ได้

ชีวิตพลเมืองจะเปลี่ยนไป เพราะผู้ดำรงตำแหน่งสองตำแหน่งนี้ ห้ามใครชุมนุมเมื่อไหร่ก็ได้ นึกจะจับกักกันผู้ใดก็อ้างเรื่องความมั่นคงของชาติได้ทันที กฎหมายมีเพื่อความมั่นคงของใคร ของชาติ หรือของพวกเผด็จการที่ต้องการคงอำนาจอย่างไม่สามารถตรวจสอบได้ไว้อย่าง “ถูกต้องตามกฎหมาย”

คนพวกนี้คงกลัวว่าอำนาจเบ็ดเสร็จเผด็จการของพวกตนในปัจจุบันไม่มั่นคงพอ จึงพยายามออกกฎหมายนี้มาเพื่อความมั่นคงยิ่งขึ้นของพวกตน

ถ้าเป็นเช่นนั้น กฎหมายนี้ย่อมเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากเป็นภัยต่อความมั่นคงของพลเมืองและวัฒนธรรม รวมถึงระบอบประชาธิปไตยที่ตรวจสอบได้

แล้วประชาชนจะยอมปล่อยให้คนในรัฐบาลเถื่อนพวกนี้ สถาปนาอำนาจเผด็จการ อำนาจสามานย์ ให้กลายเป็นสิ่งถูกต้องตามกฎหมายได้จริงๆ หรือ? ในเมื่อการยอมรับ พ.ร.บ.นี้ เท่ากับเป็นการเซ็นต์เช็คเปล่าให้ผู้ชื่นชอบระบอบเผด็จการเลือกใช้อำนาจ เมื่อไหร่ก็ได้ตามอำเภอใจ

..........................................

ปล. บางคนบอกว่ารัฐนี้ไม่ควรพิจารณาผ่านร่าง พ.ร.บ. นี้เพราะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แถมการเลือกตั้งก็จะมาถึงในอีกไม่กี่อาทิตย์ข้างหน้า แต่ในมุมมองของผู้เขียน ไม่ว่ารัฐบาลนี้ (ที่แต่งตั้งโดยทหาร) หรือรัฐบาลหน้า ที่มาจากการเลือกตั้ง ก็ไม่มีสิทธิหรือความชอบธรรมในการผ่านกฎหมายใดๆ ที่จะทำลายการตรวจสอบ คานอำนาจในระบอบประชาธิปไตย แต่ที่ละอายมากคือ เผด็จการทหารชุดปัจจุบันพยายามเล่นกล ทำให้ดูเหมือนว่าร่าง พ.ร.บ. นี้ถ้าผ่านในสภาโจ๊ก ก็จะถือว่ามีความชอบธรรมถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งแท้จริงแล้วมันไม่มีอะไรชอบธรรมหรือถูกต้องตามกฎหมายเลย ไม่ว่าจะเป็นตัวเผด็จการทหารอย่างนายสนธิ หรือคนที่คิดว่าตัวเองเป็นนายกฯ ชื่อสุรยุทธ์และบรรดาสุนัขรับใช้ในสภาโจ๊ก

--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 23/10/2550



http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=9999&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai

เปิดร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคง (ซอฟท์ เวอร์ชั่น) ฉบับด่วนที่สุด !

รายละเอียดร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติไปเมื่อ 16 ต.ค.ที่ผ่านมา หลังผ่านการแก้ไขจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.)แล้ว และอยู่ระหว่างการผลักดันสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ออกมาระบุด้วยว่าต้องการให้เสร็จเรียบร้อยภายในรัฐบาลนี้ เพื่อแก้ปัญหา ‘ความมั่นคงของชาติ’ แต่ล่าสุดคณะกรรมการประสานงานรัฐบาล-สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป) ได้มีมติให้ ครม.นำร่างฉบับนี้ไปแก้ไขอีกรอบ

ถึงกระนั้น ก็ยังน่าพิจารณาตัวร่างดังกล่าวที่เพิ่งผ่าน ครม.ไป หลังจากทางกฤษฎีกาได้ปรับแก้แล้วรอบหนึ่งจากร่างแรกที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์หนักหน่วง

เหตุผล :

โดยที่ปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีหลากหลาย มีความรุนแรง รวดเร็ว สามารถขยายตัวจนส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง และมีความสลับซับซ้อน จนอาจกระทบต่อเอกราชและบูรณภาพแห่งอนาคต ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในประเทศ และเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชน

ดังนั้น เพื่อให้สามารถป้องกัน และระงับภัยที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที จึงสมควรกำหนดให้มีหน่วยปฏิบัติงานหลักเพื่อรับผิดชอบดำเนินการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ตลอดจนบูรณาการและประสานการปฏิบัติร่วมกับทุกส่วนราชการ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและรักษาความมั่นคง รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งในท้องถิ่นของตน เพื่อป้องกันภยันตรายที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในยามปกติ (ตัวเน้นโดยประชาไท) และในยามที่เกิดสถานการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งและกำหนดให้มีมาตรการและกลไกควบคุมการใช้อำนาจเป็นการเฉพาะตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์ เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเอกภาพจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

เนื้อหาสำคัญ (โดยรวบรัด) :

1. ให้ตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ขึ้นในสำนักนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับ ‘การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร’ (ตัวเน้นโดยประชาไท) มีฐานะเป็นส่วนราชการรูปแบบเฉพาะอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี (มาตรา 5)

2.ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลเป็น ผู้อำนวยการ กอ.รมน. โดยมีผู้บัญชาการทหารบกเป็นรองผู้อำนวยการ และผู้อำนวยการมอบอำนาจให้รองผู้อำนวยการเป็นผู้ปฏิบัติหรือใช้อำนาจแทนได้ (มาตรา 5)

3. คณะรัฐมนตรี (ครม.) จะมอบหมายให้ กอ.รมน.มีอำนาจกำกับหน่วยงานรัฐตามที่ ครม.กำหนดด้วยก็ได้ (มาตรา 6)

4.ในการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ถ้ามีความจำเป็นที่ กอ.รมน. ต้องใช้อำนาจตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานรัฐใด ครม. สามารถแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งใดๆ ใน กอ.รมน. ให้เป็นเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนั้นได้ หรือมีมติให้หน่วยงานนั้นมอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าว ให้ กอ.รมน. ดำเนินการแทนได้ ทั้งนี้ จะกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขในการใช้อำนาจนั้นไว้ด้วยก็ได้ (มาตรา 6)

5. กรณีที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร แต่ยังไม่มีความจำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มมีอยู่ต่อไปเป็นเวลานาน อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานรัฐหลายแห่ง ครม.จะมีมติให้ กอ.รมน. เป็นผู้รับผิดชอบในการป้องกัน ปราบปราม แก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์นั้นภายในพื้นที่ที่กำหนดได้ โดยให้ประกาศให้ทราบโดยทั่วไป (มาตรา 14)

6. ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรในเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ให้ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจจัดตั้งศูนย์อำนวยการเพื่อปฏิบัติภารกิจอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างเป็นการเฉพาะก็ได้ (มาตรา 16)

7. ผู้อำนวนการ กอ.รมน.
(ไล่ พล.อ. พัลลภ ปิ่นมณี ออกจากกอ.รมน.)
มีอำนาจสั่งเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องได้, ห้ามการเข้าออกพื้นที่, ห้ามออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด, สั่งหยุดการชุมนุมหรือมั่วสุมในที่สาธารณะเมื่อปรากฏว่าก่อความไม่สะดวกในการใช้ที่สาธารณะและอาจก่อให้เกิดความไม่สงบ, ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม ฯ (มาตรา 17)

8. ผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายสามารถเป็นพนักงานสอบสวนได้ (มาตรา 18)

9. หากพนักงานสอบสวนเห็นว่าผู้ต้องหาคนใดกระทำผิดโดยหลงผิด รู้เท่าไม่ถึงการณ์ สามารถเปิดโอกาสให้ผู้ต้องการกลับตัวได้ โดยผู้อำนวยการจะสั่งให้เข้ารับการอบรม ณ สถานที่ที่กำหนด เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน (มาตรา 19)

10. ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามพ.ร.บ.นี้ ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีการปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (มาตรา 22)

11. เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย ถ้าได้ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาซึ่งเชื่อได้ว่าชอบด้วยกฎหมายและควรแก่เหตุ (มาตรา 23)

ร่างฯ ที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว

เรื่องเสร็จที่ ๖๙๖ / ๒๕๕๐

บันทึกหลักการและเหตุผล

ประกอบร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร

พ.ศ. ....

_______________

หลักการ

ให้มีกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร

เหตุผล

โดยที่ปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีหลากหลาย มีความรุนแรง รวดเร็ว สามารถขยายตัวจนส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง และมีความสลับซับซ้อน จนอาจกระทบต่อเอกราชและบูรณภาพแห่งอนาคต ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในประเทศ และเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชน ดังนั้นเพื่อให้สามารถป้องกัน และระงับภัยที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที จึงสมควรกำหนดให้มีหน่วยปฏิบัติงานหลักเพื่อรับผิดชอบดำเนินการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ตลอดจนบูรณาการและประสานการปฏิบัติร่วมกับทุกส่วนราชการ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและรักษาความมั่นคง รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งในท้องถิ่นของตน เพื่อป้องกันภยันตรายที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในยามปกติ และในยามที่เกิดสถานการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งและกำหนดให้มีมาตรการและกลไกควบคุมการใช้อำนาจเป็นการเฉพาะตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์ เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเอกภาพจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ร่าง

พระราชบัญญัติ

การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร

พ.ศ. ....

_______________

…………………………………..

…………………………………..

…………………………………..

………………………………………………………………………………………………………………….………….

โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร

พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกำหมาย

………………………………………………………………………………………………………………….………….

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ. ....”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้

“การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร” หมายความว่า การดำเนินการเพื่อควบคุม แก้ไข และฟื้นฟูสถานการณ์ใด ที่เป็นภัยหรืออาจเป็นภัยให้กลับสู่สภาวะปกติเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือความมั่นคงของรัฐ และให้หมายความรวมถึงการป้องกันมิให้เกิดสถานการณ์เช่นนั้นด้วย

“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร

“ผู้อำนวยการ” หมายความว่า ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร

- ๒ -

“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐ แต่ไม่รวมถึงศาลและองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

“เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ

“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งผู้อำนวยการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

“จังหวัด” หมายความรวมถึงกรุงเทพมหานคร

“ผู้ว่าราชการจังหวัด” หมายความรวมถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

หมวด ๑

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร

--------------------------

มาตรา ๕ ให้จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร เรียกโดยย่อว่า “กอ.รมน.” ขึ้นในสำนักนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร

ให้ กอ.รมน. มีฐานะเป็นส่วนราชการรูปแบบเฉพาะอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยมีวิธีการปฏิบัติราชการและการบริหารงาน การจัดโครงสร้างการแบ่งส่วนงานและอำนาจหน้าที่ของส่วนงานภายใน กอ.รมน.ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลเป็นผู้อำนวยนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างใน กอ.รมน. และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ กอ.รมน. โดยมีผู้บัญชาการทหารบกเป็นรองผู้อำนวยการ

ในการปฏิบัติหน้าที่และการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้อำนวยการจะมอบอำนาจเป็นหนังสือให้รองผู้อำนวยการเป็นผู้ปฏิบัติหรือใช้อำนาจแทนก็ได้

ผู้อำนวยการอาจแต่งตั้งผู้ช่วยผู้อำนวยการจากข้าราชการในสังกัด กอ.รมน. หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงโครงสร้างและการแบ่งส่วนงานภายในของ กอ.รมน.

ให้มีเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรซึ่งผู้อำนวยการแต่งตั้งจากเสนาธิการทหารบกเพื่อรับผิดชอบงานอำนวยการและธุรการของ กอ.รมน.

รองผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร มีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างใน กอ.รมน.รองจากผู้อำนวยการและมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่ผู้อำนวยการกำหนด

ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจทำนิติกรรม ฟ้องคดี ถูกฟ้องคดี และดำเนินารทั้งปวงเกี่ยวกับคดีอันเกี่ยวเนื่องกับอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. ทั้งนี้ โดยกระทำในนามของสำนักนายกรัฐมนตรี

- ๓ -

มาตรา ๖ ให้ กอ.รมน. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินแนวโน้มของสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดภัยคุกคามด้านความมั่นคงในราชอาณาจักรและรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

(๒) อำนวยการในการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ในเรื่องที่คณะรัฐมนตรี หรือสภาความมั่นคงแห่งชาติมอบหมาย ในการนี้ให้มีอำนาจหน้าที่เสนอแผนและแนวทางในการปฏิบัติงานและ

ดำเนินการต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติตามแผนและแนวทางนั้น

(๓) อำนวยการ ประสานงาน และเสริมการปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามแผนและแนวทางในการปฏิบัติงานตาม (๒) ในการนี้คณะรัฐมนตรีจะมอบหมายให้ กอ.รมน.มีอำนาจในการกำกับการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดด้วยก็ได้

(๔) เสริมสร้างให้ประชาชนตระหนักในหน้าที่ที่ต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ สร้างความรักความสามัคคีของคนในชาติ รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่กระทบต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร และความสงบเรียบร้อยของสังคม

(๕) ดำเนินการอื่นตามที่กำหมายบัญญัติหรือตามที่คณะรัฐมนตรี สภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

ในการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ถ้ามีความจำเป็นที่ กอ.รมน. ต้องใช้อำนาจหรือหน้าที่ตามกฎหมายใดที่อยู่ในอำนาจหน้าที่หรือความรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐใด ให้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งใด ๆ ใน กอ.รมน. เป็นเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนั้น หรือมีมติให้หน่วยงานของรัฐนั้นมอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามกฎหมายในเรื่องดังกล่าว ให้ กอ.รมน. ดำเนินการแทนหรือมีอำนาจดำเนินการด้วยภายในพื้นที่และภายในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการใช้อำนาจนั้นไว้ด้วยก็ได้

มาตรา ๗ นอกจากการมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้ว บรรดาอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการตามพระราชบัญญัตินี้ผู้อำนวยการจะมอบอำนาจให้ ผอ.รมน.ภาค ผอ.รมน.จังหวัด หรือผู้อำนวยการศูนย์ตามมาตรา ๑๖ ปฏิบัติแทนก็ได้

มาตรา ๘ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้หน่วยงานของรัฐจัดส่งเจ้าหน้าที่ของรัฐไปปฏิบัติหน้าที่ใน กอ.รมน. ตามที่ผู้อำนวยการร้องขอ และให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลหรือองค์กรอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ทำนองเดียวกันของหน่วยงานของรัฐนั้น จัดให้หน่วยงานของรัฐที่จัดส่งเจ้าหน้าที่ของรัฐไปปฏิบัติหน้าที่ยัง กอ.รมน. มีอัตรากำลังแทนตามความจำเป็นแต่ไม่เกินจำนวนอัตรากำลังที่จัดส่งไป

- ๔ -

มาตรา ๙ ให้มีคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรคณะหนึ่ง ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นรองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสานสนเทศและการสื่อสารปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการอำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลาง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการ

ทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และอัยการสูงสุด เป็นกรรมการและให้เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรเป็นกรรมการและเลขานุการและให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งข้าราชการใน กอ.รมน. เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ไม่เกินสองคน

ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่กำกับ ให้คำปรึกาและเสนอแนะต่อ กอ.รมน.ในการปฏิบัติงานในอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. รวมตลอดทั้งอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) วางระเบียบเกี่ยวกับการอำนวยการและประสานงานกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร

(๒) วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของ กอ.รมน. กอ.รมน.ภาค และ กอ.รมน.จังหวัด

(๓) ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการงบประมาณ การเงินการคลัง การพัสดุและการจัดการทรัพย์สินของ กอ.รมน.

(๔) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

(๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น

มาตรา ๑๐ เมื่อมีกรณีจำเป็นในอันที่จะรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรในพื้นที่ของกองทัพภาคใด คณะกรรมการโดยข้อเสนอแนะของผู้อำนวยการจะมีมติให้กองทัพภาคนั้นจัดให้มีกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค เรียกโดยย่อว่า “กอ.รมน.ภาค” ก็ได้

ให้ กอ.รมน.ภาค เป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อ กอ.รมน. โดยมีแม่ทัพภาคเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค เรียกโดยย่อว่า “ผอ.รมน.ภาค” มีหน้าที่รับผิดชอบและสนับสนุนการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรในเขตพื้นที่รับผิดชอบของกองทัพภาคตามที่ผู้อำนวยการมอบหมาย

เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของ กอ.รมน.ภาค ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการและลูกจ้างของกองทัพภาค รวมตลาดทั้งข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐที่อยู่ในเขตพื้นที่ให้มาปฏิบัติงานประจำหรือเป็นครั้งคราวใน กอ.รมน.ภาคได้ ตามที่ ผอ.รมน.ภาค เสนอ และให้นำความในมาตรา ๘ มาใช้บังคับกับการสั่งการของผู้อำนวยการในกรณีนี้ด้วยโดยอนุโลม

ผอ.รมน.ภาค เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างที่ได้รับคำสั่งให้มาปฏิบัติงานใน กอ.รมน.ภาค และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ กอ.รมน.ภาค

- ๕ -

การจัดโครงสร้าง การแบ่งส่วนและอำนาจหน้าที่ อัตรากำลัง และการบริหารงานของส่วนงานภายใน กอ.รมน.ภาค ให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการกำหนดตามข้อเสนอแนะของ ผอ.รมน.ภาค

ให้ กอ.รมน. และกองทัพภาคให้การสนับสนุนด้านบุคลากร งบประมาณ และทรัพย์สิน ในการปฏิบัติงานของ กอ.รมน.ภาค ตามที่ ผอ.รมน.ภาค ร้องขอ

มาตรา ๑๑ เพื่อประโยชน์ในการสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหรือป้องกันภัยที่จะมีมา ให้ ผอ.รมน.ภาค ตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา กอ.รมน.ภาค ขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการมีจำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคนแต่ไม่เกินห้าสิบคนโดยแต่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชนในพื้นที่ทุกภาคส่วน มีหน้าที่ในการเสนอแนะการแก้ไขปัญหาหรือป้องกันภัยที่จะมีมา และให้คำปรึกาในเรื่องใดตามที่ ผอ.รมน.ร้องขอ

มาตรา ๑๒ เพื่อประโยชน์ในการสนับสนุน ช่วยเหลือ และปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน.ภาค ตามมาตรา ๑๐ ผอ.รมน.ภาค โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและผู้อำนวยการจะตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด เรียกโดยย่อว่า “กอ.รมน.จังหวัด” ขึ้นในจังหวัดที่อยู่ในเขตของกองทัพภาคเป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อ กอ.รมน.ภาค มีหน้าที่รับผิดชอบและ

สนับสนุนการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบของจังหวัดนั้นตามที่ผู้อำนวยการมอบหมาย และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด เรียกโดยย่อว่า “ผอ.รมน.จังหวัด” เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงานและลูกจ้าง และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ กอ.รมน.จังหวัด

การจัดโครงสร้าง การแบ่งส่วนและอำนาจหน้าที่ อัตรากำลัง และการบริหารงานของส่วนงานภายใน กอ.รมน.จังหวัด ให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการกำหนด

ให้ กอ.รมน. และจังหวัดให้การสนับสนุนด้านบุคลากร งบประมาณ และทรัพย์สิน ในการปฏิบัติงานของ กอ.รมน.จังหวัด ตามที่ ผอ.รมน.จังหวัด ร้องขอ และให้นำความในมาตรา ๘ มาใช้บังคับกับ กอ.รมน.จังหวัด ด้วยโดยอนุโลม

มาตรา ๑๓ เพื่อประโยชน์ในการสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหรือป้องกันภัยที่จะมีมา ให้ ผอ.รมน.จังหวัด ตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา กอ.รมน.จังหวัด ขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการมีจำนวนไม่น้อยกว่าสิบห้าคนแต่ไม่เกินสามสิบคนโดยแต่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชนในพื้นที่ทุกภาคส่วน มีหน้าที่ในการเสนอแนะการแก้ไขปัญหาหรือป้องกันภัยที่จะมีมา และให้คำปรึกษาในเรื่องใดตามที่ ผอ.รมน.จังหวัด ร้องขอ

- ๖ -

หมวด ๒

ภารกิจการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรเฉพาะเรื่องของ กอ.รมน.

_____________________

มาตรา ๑๔ ในกรณีที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร แต่ยังไม่มีความจำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มที่จะมีอยู่ต่อไปเป็นเวลานานทั้งอยู่ในอำนาจหน้าที่หรือความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานของรัฐหลายแห่งคณะรัฐมนตรีจะมีมติให้ กอ.รมน. เป็นผู้รับผิดชอบในการป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ซึ่งกระทบต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรนั้นภายในพื้นที่ที่กำหนดได้ทั้งนี้ ให้ประกาศให้ทราบโดยทั่วไป

ในกรณีที่เหตุการณ์ตามวรรคหนึ่งสิ้นสุดลงหรือสามารถดำเนินการแก้ไขได้ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบได้ตามปกติ ให้นายกรัฐมนตรีประกาศให้อำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. ที่ได้รับมอบหมายตามวรรคหนึ่งสิ้นสุดลง

มาตรา ๑๕ ในการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายตามมาตรา ๑๔ ให้ กอ.รมน. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย

(๑) ป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรตามที่ได้รับมอบหมายตามมาตรา ๑๔

(๒) จัดทำแผนการดำเนินการตาม (๑) เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อให้ความเห็นชอบ

(๓) กำกับ ติดตาม และเร่งรัดหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการ หรือบูรณาการในการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนตาม (๒)

(๔) สั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีพฤติกรรมว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร หรือเป็นอุปสรรคต่อการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรออกจากพื้นที่ที่กำหนด

ในการจัดทำแผนตาม (๒) ให้ กอ.รมน. ประชุมหารือกับสภาความมั่นคงแห่งชาติและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องด้วย

ในกรณีที่มีคำสั่งตาม (๔) แล้วให้ กอ.รมน. แจ้งให้หน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดทราบพร้อมด้วยเหตุผล และให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้รับคำสั่งให้ออกจากพื้นที่นั้น ไปรายงานตัวยังหน่วยงานของรัฐที่ตนสังกัดโดยเร็ว ในการนี้ให้หน่วยงานของรัฐเจ้าสังกัดดำเนินการออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ หรือพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ตามที่กำหนดไว้ในคำสั่งดังกล่าว

- ๗ -

มาตรา ๑๖ ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรในเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ให้ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจจัดตั้งศูนย์อำนวยการเพื่อปฏิบัติภารกิจอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างเป็นการเฉพาะก็ได้

โครงสร้าง อัตรากำลัง การบริหารจัดการ อำนาจหน้าที่ การกำกับติดตามหรือบังคับบัญชาศูนย์อำนวยการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้นำความในมาตรา ๘ มาใช้บังคับกับศูนย์อำนวยการตามวรรคหนึ่งด้วยโดยอนุโลม โดยให้อำนาจผู้อำนวยการเป็นอำนาจของผู้อำนวยการศูนย์

มาตรา ๑๗ เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไข หรือบรรเทาเหตุการณ์ภายในพื้นที่ตามมาตรา ๑๔ ให้ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจออกข้อกำหนด ดังต่อไปนี้

(๑) ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติการหรืองดการปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใด

(๒) ห้ามเข้าหรือให้ออกจากบริเวณพื้นที่ อาคาร หรือสถานที่ที่กำหนด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้น

(๓) ห้ามออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด

(๔) ให้ยุติการชุมนุมหรือมั่วสุมกันในที่สาธารณะ เมื่อปรากฏว่าการชุมนุมหรือมั่วสุมนั้นก่อให้เกิดความไม่สะดวกแก่ประชาชนในการใช้ที่สาธารณะและอาจก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นได้

(๕) ห้ามนำอาวุธออกนอกเคหสถาน

(๖) ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ

(๗) ให้บุคคลปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดอันเกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดแก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน

มาตรา ๑๘ ในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๑๕ (๑) ให้ผู้อำนวยการและพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ผู้อำนวยการมอบหมาย เป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ใช้อำนาจในฐานะดังกล่าวให้เป็นไปตามข้อตกลงร่วมกันระหว่าง กอ.รมน. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

มาตรา ๑๙ ภายในเขตพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ กอ.รมน.ดำเนินการตามมาตรา ๑๔ ถ้าพนักงานสอบสวนเห็นว่าผู้ต้องหาคนใดได้กระทำความผิดอันมีผลกระทบต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดเพราะหลงผิด หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และการเปิดโอกาสให้ผู้ต้องหานั้นกลับตัว

- ๘ -

จะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนสำหรับผู้ต้องหาคนนั้น พร้อมทั้งความเห็นไปยังผู้อำนวยการ

ถ้าผู้อำนวยการเห็นชอบด้วยกับความเห็นของพนักงานสอบสวน ผู้อำนวยการจะสั่งให้ผู้ต้องหาดังกล่าวเข้ารับการอบรม ณ สถานที่ที่กำหนด เป็นเวลาไม่เกินหกเดือน และปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นที่กำหนดแทนการดำเนินคดีก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

การดำเนินการตามวรรคสอง จะกระทำได้ต่อเมื่อผู้ต้องหายินยอมเข้ารับการอบรมและปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว และเมื่อผู้ต้องหาได้เข้ารับการอบรมและปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วนแล้ว ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้พนักงานอัยการเพื่อสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาตามอำนาจหน้าที่ต่อไป และเมื่อพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาแล้ว ผู้ใดจะฟ้องผู้ต้องหาสำหรับการกระทำที่ต้องหานั้นอีกไม่ได้

มาตรา ๒๐ ในการใช้อำนาจของ กอ.รมน. ตามมาตรา ๑๕ (๑) ถ้าก่อให้เกิดความเสียหายกับประชาชนผู้สุจริต ให้ กอ.รมน. จัดให้ผู้นั้นได้รับการชดเชยความเสียหายตามควรแก่กรณีตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

มาตรา ๒๑ พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ภายในพื้นที่ที่กำหนดตามมาตรา ๑๔ อาจได้รับค่าตอบแทนพิเศษตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

พนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งผู้ใดเจ็บป่วย เสียชีวิต ทุพพลลาภ พิการ หรือสูญเสียอวัยวะ อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ ให้ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นนอกเหนือจากที่มีกฎหมายกำหนด ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

มาตรา ๒๒ บรรดาข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามพระราชบัญญัตินี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองและกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

มาตรา ๒๓ ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย ถ้าได้กระทำตามคำสั่งขอผู้บังคับบัญชา โดยมีเหตุอันควรเชื่อว่าเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการกระทำที่พอสมควรแก่เหตุ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับผู้ที่ช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมพระราชบัญญัตินี้ด้วยโดยอนุโลม

- ๙ -

หมวด ๓

บทกำหนดโทษ

__________________

มาตรา ๒๔ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตามมาตรา ๑๗ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) หรือ (๗) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

บทเฉพาะกาล

___________________

มาตรา ๒๕ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และอัตรากำลังของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๐๕ / ๒๕๔๙ เรื่อง การจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ มาเป็นของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๒๖ ให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๒๐๗ / ๒๕๔๙ เรื่อง การบริหารราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นศูนย์อำนวยการที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

.............................................

นายกรัฐมนตรี

--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 22/10/2550


http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=8624&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai

ชำแหละร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคงภายใน ‘อำนาจ ผบ.ทบ. เหนืออธิปไตยไทยทั่วประเทศชั่วชีวิต’

ประชาไท – 26 มิ.ย. 50 เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. คณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมและการสูญหายของบุคคล โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จัดสัมมนาเรื่อง ‘ชำแหละร่าง พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ....’ ณ ห้องประชุม 101 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ



นายไพโรจน์ พลเพชร เลขาธิการสมาคมสิทธิและเสรีภาพเพื่อประชาชน กล่าวว่า รัฐบาลก่อนเคยออกกฎหมาย 2 ฉบับที่เกี่ยวกับความมั่นคง กฎหมายแรกเป็นกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย มีที่มาจากการอ้างภัยสมัยใหม่ที่รัฐต้องเผชิญ ต่อมาก็ได้ออกกฎหมายอีกฉบับ คือ พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) โดยเป็นสถานการณ์ที่ประเมินว่าสังคมไทยกำลังเผชิญสถานการณ์ฉุกเฉินบางอย่าง ซึ่งทั้ง 2 กฎหมายเร่งออกโดยฝ่ายบริหารเป็น พ.ร.ก. ทั้ง 2 ฉบับ

ส่วนร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.... (พ.ร.บ.ความมั่นคงภายใน) นี้หากมองอย่างตรงไปตรงมาที่สุดคือ การขยายบทบาทให้กองทัพมีบทบาททางการเมืองในบ้านเมืองในหลายๆ เรื่อง เหตุผลพูดไว้ชัด อย่างใน มาตรา 9 ให้ตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) และ มาตรา 10 ที่ให้มีหน้าที่ทั้งในภาวะบ้านเมืองปกติและไม่ปกติ ซึ่งต่างจากในอดีตที่จะต้องมาในรูปของกฎอัยการศึก หรือต้องประกาศพื้นที่ชัดเจนในภาวะไม่ปกติก่อน เจตนาของกฎหมายจึงชัดเจนเหมือนกับในอดีตที่เคยให้ กอ.รมน. มีบทบาทสูงในการสู้ภัยคอมมิวนิสต์

ประการต่อมา ขอบเขตคำว่า ภัยความมั่นคง และนิยามของคำว่า ภัยคุกคาม ตาม พ.ร.บ. ความมั่นคงภายในกว้างขวางมาก และเดิมทีก็มีกฎหมายรับรองในเรื่องความมั่นคงหมดแล้ว ซึ่งรวมไปถึงการก่อการร้ายด้วย เพียงแต่ใช้ตามปกติไม่ได้ พ.ร.บ. ฉบับนี้จึงเหมือนการเปิดโอกาสให้ทหารเข้ามาจัดการและเข้าไปอยู่ในทุกพื้นที่ของประเทศ ผ่านการตั้ง กอ.รมน. ทั้งระดับภูมิภาคและระดับจังหวัด การที่ระบุลงไปว่าความมั่นคงทั้งในระดับปกติและไม่ปกติเดิมจะให้อำนาจนายกรัฐมนตรี แต่กฏหมายฉบับนี้ให้อำนาจ ผอ.รมน. สามารถสั่งการได้ มีอำนาจแต่งตั้งบุคคลได้ทันทีเทียบเท่ากับนายกรัฐมนตรี ทำให้เกิดเป็นอำนาจรัฐซ้อนรัฐ จนดูเหมือนจะมี 2 รัฐบาลในเวลาเดียวกัน

ประเด็นถัดมาคือ เรื่องอำนาจ ในมาตรา 24 ตาม ร่าง พ.ร.บ. นี้ได้ให้อำนาจผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (ผอ.รมน.) ซึ่งก็คือผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) โดยตำแหน่ง แบบสุดๆ เช่น หากเห็นว่ามีความไม่ปลอดภัยต่อความมั่นคงให้ทำหน้าที่ได้ทันที สามารถบังคับบัญชาหน่วยงานรัฐทุกหน่วยได้ แต่งตั้งบุคคลได้



นอกจากนี้ พ.ร.บ. ความมั่นคงภายในยังให้อำนาจ ผบ.ทบ. ลิดรอนสิทธิประชาชนได้หลายเรื่อง เช่น ห้ามเดินทาง ห้ามใช้เส้นทางคมนาคม ห้ามชุมนุมการเมือง ห้ามแสดงมหรสพ ห้ามโฆษณา ห้ามออกจากเคหะสถาน ให้เจ้าของกิจการรายงานประวัติลูกจ้างทั้งหมด หรือครอบครองสินค้าได้ กฎเหล่านี้สามารถออกได้ทันทีโดยคำวินิจฉัย ผบ.ทบ. ในส่วนของการใช้อำนาจเจ้าหน้าที่สามารถจับกุมหรือเรียกมาควบคุมตัวได้ทันที การให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น ยกเว้นการเข้าไปในเคหะสถาน

ในส่วนของอำนาจควบคุมตัวนั้น ถ้าสงสัยสามารถเรียกมาคุมตัวก่อนได้ภายใน 30 วัน โดยเรียกว่า ผู้ต้องสงสัย ซึ่งยังไม่ใช่ผู้ต้องหา โดยที่การเป็นผู้ต้องสงสัยไม่สามารถมีสิทธิอะไร ทั้งห้ามเยี่ยม ห้ามมีทนาย สรุปแล้วผู้ต้องสงสัยกลับมีสิทธิน้อยกว่าผู้ต้องหาเสียอีก

(พล.ท.วิโรจน์ บัวจรูญ มทภ.๔/ผอ.รมน.ภาค ๔)

นายไพโรจน์ ยังได้ยกตัวอย่างมาตราอื่นๆ ตาม พ.ร.บ. ความมั่นคงภายใน ที่น่าเป็นห่วงอีก เช่น มาตรา 30 ผอ.รมน. สามารถเข้าแทรกแซงการสอบสวนได้ โดยสามารถเรียกข้อมูลการสอบสวนทางอาญาหรือเข้าฟังการสอบสวนก็ได้ หรือในมาตรา 31 ผอ.รมน. สามารถสั่งปล่อยได้ ซึ่งทำหน้าที่คล้ายวินิจฉัยแทนศาลอันเป็นอำนาจตุลาการ นอกจากนี้ มาตรา 34 สามารถสั่งย้ายราชการโดยอ้างความมั่นคงได้

ประเด็นสำคัญอีกประการที่นายไพโรจน์เป็นห่วงมาก คือ การที่ร่าง พ.ร.บ. นี้ เขียนไว้ว่าห้ามตรวจสอบโดยศาลปกครอง จึงไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าคำสั่งที่ออกมานั้นชอบหรือไม่ ขัดแย้งกับสิทธิเสรีภาพหรือไม่ นอกจากนี้การเขียนไว้ว่าห้ามตรวจสอบโดยศาลปกคองแล้ว ที่สำคัญกว่าคือเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจตาม ร่าง พ.ร.บ. นี้ ไม่ต้องรับความผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางวินัย จึงเท่ากับให้อำนาจเจ้าหน้าที่สูงล้น และใช้คนเดียว แต่ไม่มีใครตรวจสอบได้ และสามารถมาแทนกลไกปกติได้ทั้งหมด จึงเป็นการท้าทายต่อหลักนิติธรรมในประเทศค่อนข้างสูง

นายไพโรจน์ ยังกล่าวอีกว่า ร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคงภายใน ขัดต่อหลักการ 3 เรื่อง เรื่องแรกคือการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารบ้านเมือง ถ้าถูกควบคุมเหมือนทุกวันนี้จะยิ่งลำบาก ต่อมาคือขัดต่อหลักการกระจายอำนาจ แม้จะบอกว่ารวบอำนาจจำกัดเฉพาะเรื่องความมั่นคงแต่ขยายความค่อนข้างสูง เป็นการย้อนยุคให้อำนาจ ผบ.ทบ. สูงมากและตรวจสอบไม่ได้ ดังนั้นรัฐสภาจึงไม่ควรออกกฎหมายในยุคนี้เพราะผ่านการตรวจสอบได้ยาก ถ้าจะออกควรไปออกในสมัยหน้าที่เปิดให้มีการถกเถียงมากกว่านี้

อีกเรื่องหนึ่งคือต้องประเมินด้วยว่าเราใช้กฏหมายเดิมที่มีอยู่ไม่ได้ผลหรือ ทำไมต้องรวบอำนาจให้กองทัพบกและ กอ.รมน. ทั้งที่ กอ.รมน. น่าจะหมดไปตั้งแต่สมัยคอมมิวนิสต์แล้ว การทำเช่นนี้เหมือนกับการให้ที่ยืนกับคนกลุ่มหนึ่ง กำลังจะสร้างอำนาจซ้อนรัฐ ถ้ารัฐบาลสมัยหน้าอ่อนแอ ส่วนนี้จะมีอำนาจเหนือรัฐ

(นฤมล ทับจุมพล และเกษียร เตชะพีระ)

ดร.นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ได้อ่าน พ.ร.บ. ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงภายในเปรียบเทียบกับประเทศ 4 ประเทศ คือ อเมริกา มาเลเซีย สิงคโปร์ และอิสราเอล

พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงภายในเกิดมาจากทัศนคติของการกลัวภัยคุกคามคอมมิวนิสต์ ซึ่งผ่านมา 4 ทศวรรษแล้ว คือเมื่อปี 1950 ในอเมริกา ปี 1960 ในมาเลเซีย ปี 1963 ในสิงคโปร์ และปี 1979 ในอิสราเอล ส่วนในปัจจุบันคือเรื่องของการต้านการก่อการร้าย และหากดูในเนื้อหาแล้ว พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในของไทยเหมือนจะนำรูปแบบเดียวกับอิสราเอลมาใช้ แต่อิสราเอลมีกรณีฉนวนกาซ่าและเขตเวสแบงค์ แล้วไทยเรามีสถานการณ์เหมือนอิสราเอลหรือไม่

ส่วน พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงภายในของมาเลเซีย สามารถให้ควบคุมตัวได้ 60 วัน แต่ผู้ใช้อำนาจคือมหาดไทย อย่างไรก็ตาม มีคนกว่า 1,000 คน ถูกจับด้วยอำนาจตาม พ.ร.บ. นี้ แต่สำหรับไทยเหมือนจะยกอำนาจให้กองทัพบกไปเลย

ส่วนสิงคโปร์ มี พ.ร.บ.ว่าด้วยความมั่นคงภายใน เนื่องจากการจับกุมคอมมิวนิสต์และล่าสุดคือความกลัวภัยการก่อการร้าย โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับอาเจะห์และเจไอ

อย่างไรก็ตาม ในกรณีของไทยกลับไม่ได้มาจากความกลัวภัยก่อการร้าย แต่น่าจะมาจากความพยายามในทางการเมืองไทยเอง ซึ่งมีความพยายามจะออกกฎหมายแบบนี้มาหลายครั้งหลังยกเลิก พ.ร.บ.คอมมิวนิสต์ แล้วต้องการให้มีกฎหมายอื่นมาแทน โดยก่อนหน้านี้ผ่านการถกมาแล้วว่าไม่สามารถออกกฎหมายแบบนี้ได้เพราะขัดต่อสิทธิเสรีภาพ แต่สุดท้ายก็มาพยายามผลักดันกันในรัฐบาลชุดนี้ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และไม่ใช่ พ.ร.บ. มาทำหน้าที่ดูแลประเทศ แต่เป็นความพยายามที่จะรักษาโครงสร้างกอ.รมน. ที่เคยใช้ปราบปรามคอมมิวนิสต์ และหาพื้นที่ให้ หลายคนจึงพูดว่าเป็นการฟื้นแนวคิดอมาตยาธิปไตย

ดร.นฤมล ยังกล่าวอีกว่า ร่าง พ.ร.บ. นี้มีหลายเรื่องกินเนื้อที่มากมาย การห้ามออกจากเคหะสถาน การห้ามมีมหรสพ ดูแล้วจะทำให้หลักการเรื่องเสรีภาพในการพูด การแสดงความคิดเห็น การเดินทางถูกจำกัดไปโดยปริยาย นอกจากนี้ การนิยามเรื่องความมั่นคงของไทยนั้น ถ้าไม่เห็นด้วยกับรัฐก็ถือเป็นภัยความมั่นคงแล้ว ร่างพ.ร.บ.นี้จึงไม่ถูกทั้งในแง่สิทธิเสรีภาพ ทั้งไม่มีความชอบธรรมในเรื่องที่มาของรัฐบาล



ด้าน ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความเห็นว่า ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคง คงก็อปปี้มาจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หลายอย่าง แต่จุดที่ไม่เหมือนคือการใช้ต้องประกาศสถานการณ์ก่อน ซึ่งเป็นหลักการเช่นเดียวกับการใช้กฎอัยการศึก แต่สำหรับ พ.ร.บ. นี้ใช้อำนาจได้โดยไม่ต้องประกาศอะไรทั้งสิ้น ผอ.รมน. จะมีอำนาจทั่วทั้งประเทศ

สำหรับประเด็นที่ ดร.ปริญญา แสดงความเป็นห่วงค่อนข้างมากได้แก่ มาตราที่ 36 ที่ระบุว่า ฟ้องศาลปกครองไม่ได้ และมาตรา 37 คือไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา

“นี่คือการเอาฝ่ายตุลาการออกไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งหาก พ.ร.บ. ฉบับนี้สามารถประกาศใช้ได้จริง จะทำให้รัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ไม่มีความหมายอะไรเลย เพราะร่าง พ.ร.บ. นี้ขัดกับมาตรา 3 เรื่องของหลักประกันสิทธิและเสรีภาพ ในรัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังจะออกมาให้ประชาชนทำประชาพิจารณ์ในเรื่องของหลักประกันสิทธิและเสรีภาพ สมัย รสช. ยังไม่กระทำกันขนาดนี้ มันไม่สมควรที่รัฐจะออกกฏหมายเช่นนี้ เพราะมันไม่สอดคล้องกับวิถีทางประชาธิปไตย ตอนยึดอำนาจก็บอกว่าเป้าหมายคือการปฏิรูปการเมืองไทย แต่นี่ไม่ใช่หลักการของประชาธิปไตยในหลักการของการปฏิรูป เพราะฉะนั้น สนช.ต้องไม่รับร่างฉบับนี้ไปพิจารณา เพราะถ้าพูดแรงๆ นี่คือการสืบทอดอำนาจ เพราะกำลังจะมีการเลือกตั้ง แต่ฝ่าย คมช.ยังต้องการสืบทอดอำนาจต่อไป” ดร.ปริญญา ระบุ

นอกจากนี้ ยังกล่าวด้วยว่า ตามหลักการปกครองต้องแบ่งแยกอำนาจออกเป็นนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ เพื่อคุ้มครองสิทธิ แต่นี่เป็นการเอาฝ่ายตุลาการออกไปโดยสิ้นเชิง และเป็นอำนาจที่เกิดทันทีที่ พ.ร.บ. นี้มีผลบังคับใช้ ทั้งนี้ การห้ามได้ก็คือการที่ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพ และหากการห้ามได้นั้นขึ้นกับ ผบ.ทบ. การต้องขอ ผบ.ทบ. มันก็คือเผด็จการแล้ว เนื่องจากการใช้สิทธิประชาธิไตย ประชาชนไม่ต้องขอใคร

ดร.ปริญญา กล่าวต่อว่า “เมื่อมีอำนาจตรงไหน สิทธิเสรีภาพของประชาชนก็จะหายไปตรงนั้น อำนาจกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนสวนทางเสมอ จริงอยู่ว่าการอยู่ร่วมกันในสังคมมันจำเป็นต้องจำกัดสิทธิเสรีภาพบ้าง เช่น เจอไฟแดงก็ต้องหยุด แต่การจำกัดสิทธิเสรีภาพก็ต้องเป็นไปเพียงเท่าที่จำเป็นและประชาชนยินยอมโดยผ่านกระบวนการตรากฎหมาย หรือผ่านผู้แทนที่ปะชาชนเลือกเข้าไป แต่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ไม่ได้มาจากประชาชนเลย ดังนั้น สนช. จะไม่มีความชอบธรรมในการรับร่างฉบับนี้ไว้พิจารณา ถ้าจะจำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชนต้องยินยอม อำนาจทำให้เสื่อม ไม่อยากให้กองทัพเสื่อม”



ด้านนายสมชาย หอมลออ อดีตประธานกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ ตั้งข้อสังเกตว่า สาเหตุที่ร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคงภายใน ผ่านมติคณะรัฐมนตรี คงเป็นการกดดันเต็มที่จากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ต้องจับตาต่อไปว่า สนช. จะเป็นจำเลยด้วยหรือไม่ ทั้งนี้ คนที่ดำรงตำแหน่งประธานคมช. อาจจะยังไม่มีอำนาจเท่า ผบ.ทบ. ซึ่งคือผู้ที่จะเป็น ผอ.รมน. ในอนาคตเสียอีก



นายสมชาย กล่าวต่อว่า กฎหมายให้อำนาจ ผบ.ทบ. มาก แต่มีเสียงโต้จากฝ่ายมั่นคงว่า อำนาจ ผอ.รมน. ไม่มากหรอก นายกรัฐมนตรีจะปลดเมื่อไหร่ก็ได้ แต่มันหมายถึงว่าต้องเท่ากับปลด ผบ.ทบ. ด้วย ในขณะที่คณะกรรมการ กอ.รมน. ถึง 2 ใน 3 เป็นข้าราชการประจำ เช่น ปลัดกระทรวงต่างๆ หรือเสนาธิการก็อยู่ในส่วนเลขาธิการ จึงเห็นชัดว่าเป็นการเสริมอำนาจอย่างเข้มแข็งให้ข้าราชการทหาร รวมทั้งให้สามารถสั่งการข้าราชการพลเรือนได้ จนเหมือนกับให้กองทัพเป็นพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง แต่เป็นพรรคนอกระบบเป็นรัฐซ้อนรัฐ เป็นอำนาจซ้อนอำนาจ และจะสร้างอาณาจักรแห่งความกลัวเป็นอันมากในภายหลัง



ทั้งนี้ คมช. พยายามจะใช้ผีระบอบทักษิณเพื่อให้ประชาชนวางเฉยต่อการสืบทอดอำนาจเผด็จการ คมช. อยากเรียกร้องให้ประชาชนจับตาเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เรากำลังกำลังเจอเผด็จการตัวใหม่ เหมือนหนีเสือปะจระเข้โดยอ้างว่าเพื่อไม่ให้ฟื้นฟูระบอบทักษิณมาอีก

อีกหลักการคือ การที่ศาลที่ถูกตัดอำนาจไป ในขณะที่ปกติข้าราชการก็ใช้อำนาจบาตรใหญ่กว้างขวางอยู่แล้ว และแทบไม่มีสักรายที่ถูกดำเนินคดีทั้งทางอาญาและวินัย จนเกิดวัฒนธรรมที่ข้าราชการชั่วๆ มากมายลอยนวลเหนือประชาชน อย่างกรณีนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความที่หายตัวไป กรณีในภาคใต้ หรือการที่นักสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน 30 กว่าคนเสียชีวิตไปในรัฐบาลทักษิณก็ไม่ดำเนินคดีเอาผิดได้ ร่าง พ.ร.บ. นี้จะไปเสริมวัฒนธรมข้าราชการที่ทำผิดได้โดยไม่ต้องรับโทษ ทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางวินัย ซึ่งจะซ้ำเติมสถานการณ์สิทธิมนุษยชน



นอกจากนี้ นายสมชาย ยังขอให้ สนช. ระงับขั้นตอนการดำเนินการและให้ถอนเรื่องออกจากคณะกรรมการกฤษฎีกา หากไม่ทำตาม ขอเรียกร้องประชาชนให้ร่วมกันคัดค้านกฎหมายฉบับนี้ และถ้าไม่ได้รับการดำเนินถอนเรื่องออกมาคงต้องคัดค้านรัฐบาลและ คมช. ด้วย



นายพิภพ ธงไชย คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) กล่าวว่า ถ้ากฎหมายนี้ผ่านจะมีรัฐซ้อนรัฐในประเทศ รัฐธรรมนูญก็หมดความหมาย ดังนั้น ถ้ากฎหมายนี้ผ่านก็ควรร่วมกับกลุ่มอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน) ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ส่วนทาง คมช. ก็ขอให้ออกรัฐธรรมนูญของตัวเองออกมา ขอให้พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน ประธาน คมช. ทำให้สุดๆ ไปเลย อย่าออมชอม เพราะจะได้สู้กันสุดๆ เพราะในขณะที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกำลังใช้ธงในการสู้ตามรัฐธรรมนูญ 2540 อยู่ก็เข้ามาแย่งธงของพันธมิตรฯ ไป

นายพิภพ ระบุว่า การออกกฎหมายความมั่นคงภายในเป็นการสืบทอดอำนาจที่เนียนกว่าการกระทำของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร และเลวร้ายยิ่งกว่า มาตรา 17 ของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตต์ ทหารมีคนดีและไม่ดี แต่เราไม่สามารถตรวจสอบงบลับทหาร หรือ กอ.รมน. เลย ทั้งที่ใช้งบประมาณมหาศาลมาก ได้คุยกับ พล.อ. คนหนึ่งซึ่งเป็นที่ปรึกษา กอ.รมน. เขาบอกว่า งบประมาณที่ให้ กอ.รมน. ปกติก็สูญเสียไป 40 -60 เปอร์เซ็นต์ เหมือนบอกชาวบ้านจะให้วัวไปเยียวยา 5,000 ตัว กับเงินอีก 5,000 บาท เขาก็จะให้แต่เงิน วัวจะไม่ได้เลย

นายพิภพ กล่าวต่อไปว่า คำว่า ความมั่นคง ต้องตีความใหม่ ความมั่นคงนั้นเกิดจากความไม่สมดุลของอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ และอำนาจประชาชน แต่กฎหมายนี้ประชาชนหายไปเลย ดังนั้น ถ้ากฎหมายนี้ผ่าน สนช. คิดว่าควรสู้กันในทางสัญลักษณ์อย่างจริงจัง ตั้งแต่ คณะกรรมสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทั้งคณะควรลาออกเพื่อเป็นการประท้วง ส่วน สนช. คนใดที่อ้างประชาธิปไตยก็ควรลาออกเช่นกัน เช่น นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง รศ.สุริชัย หวันแก้ว หรือ นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ เป็นต้น

สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญก็ต้องทำแบบเดียวกัน แม้แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยก็ต้องออกมาหรือลาออกประท้วงด้วย และถ้ารวมตัวไม่สำเร็จสุดท้ายต้องปฏิเสธรัฐธรมนูญ 2550 เพราะถ้ารับกฎหมายนี้แล้วรัฐธรรมนูญก็ไม่มีความหมาย มันไปละเมิดสิทธิประชาชนหมด อำนาจตุลาการ 1 ใน 3 อำนาจอธิปไตยไม่สามารถตรวจสอบได้เลย เรื่องนี้เครียดกว่าเรื่องการรัฐประหารอีก เพราะเป็นการรัฐประหารยึดอำนาจระยะยาวมาก เป็นการต่ออำนาจโดยไม่สิ้นสุด อำนาจจะอยู่ที่ ผบ.ทบ. ศาลต่างๆ จะไร้ความหมาย การกระทำของ กอ.รมน. ถือว่ายกเว้นหมด

โดยสรุปไม่มีอะไรที่เลวร้ายในการยึดอำนาจครั้งนี้นอกจาก ร่าง พ.ร.บ. นี้ ทหารเองเคยได้รับการปรบมือจากการยึดอำนาจ แต่คราวนี้จะถูกสาปแช่งและต่อต้านด้วย ต้องสู้กันทุกระดับ ต้องต้านทานเชิงสัญลักษณ์ให้มากขึ้น อยากขอให้คณะรัฐมนตรีถอนร่างออกมาจากกฤษฎีกาแล้วไปยื่นต่อสภาสมัยหน้า เพื่อให้เกิดการถกเถียงกันที่ ดีที่สุดคือให้มาจากสภาของประชาชน

จับตา! บางมาตราใน พ.ร.บ.ความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ....

มาตรา 9 ให้จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เรียกชื่อโดยย่อว่า “กอ.รมน.” เป็นหน่วยงานในสำนักนายกรัฐมนตรี ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยมีผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน มีหน้าที่รับผิดชอบบังคับข้าราชการ การดำเนินงานของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน และอนุมัติแผนแม่บทหรือแผนปฏิบัติการในการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

มาตรา 10 ให้กองอำนวยการรักษาความั่นคงภายในมีบทบาทเป็นองค์กรกลางในการอำนวยการและประสานการปฏิบัติ ในการนำนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงภายในของรัฐ และวาระเร่งด่วนแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติ

การแบ่งงานภายในของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในให้จัดทำเป็นกฏกระทรวง

มาตรา 24 เมื่อปรากฏว่ามีการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในมีภารกิจในการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร และให้มีอำนาจบังคับบัญชาหน่วยงานของรัฐเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน แก้ไข ปราบปรามระงับยับยั้งการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร การฟื้นฟู และการช่วยเหลือประชาชน

ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลเป็นเจ้าพนักงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร และอาจมีคำสั่งแต่งตั้งคณะบุคคล หรือบุคคลเป็นที่ปรึกษาในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน หรือเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อรักษาความั่นคงในราชอาณาจักร

ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในอาจมอบหมายให้ผู้อำนวยรักษาความมั่นคงภายในภาคหรือผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด หรือกรุงเทพมหานครเป็นผู้ใช้อำนาจตามวรรคสองแทน และให้ถือว่าเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้อง

ให้หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุน หรือกระทำการใดๆ เมี่อได้รับการร้องขอจากเจ้าพนักงาน

มาตรา 25 ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อให้การกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรยุติลงได้โดยเร็ว หรือป้องกันมิให้เกิดเหตุร้ายแรงมากขึ้น ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในมีอำนาจออกข้อกำหนดดังต่อไปนี้

(1) ห้ามบุคคลใดนำอาวุธที่กำหนดในกฏกระทรวงออกนอกเคหสถาน

(2) ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ

(3) ห้ามมิให้การชุมนุม หรือมั่วสุมกัน ห้ามการแสดงมหรสพ ห้ามการโฆษณา เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเป็นการชักชวนหรือยั่วยุให้มีการกรำความผิดกฏหมาย

(4) ห้ามให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน หรือบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้น

(5) ให้บุคคลใดนำอาวุธที่กำหนดในกฏกระทรวงมามอบไว้เป็นชั่วคราวตามความจำเป็นโดยการส่งมอบ การรับมอบ และการดูแลรักษาอาวุธดังกล่าวให้กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงานที่เห็นสมควร

(6) ให้เจ้าของกิจการ หรือผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในกิจการ หรือการทุจริต ซึ่งมีพนักงานหรือลูกจ้าง หรือบุคคลอื่นที่มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจการ หรือการจัดการธุรกิจ จัดเก็บ และเก็บประวัติและแจ้งการย้ายเข้าและการย้ายออก การเลิกจ้าง และแจ้งพฤติการณ์ของบุคคลดังกล่าวให้เจ้าพนักงานทราบ

(7) ออกคำสั่งให้การซื้อขายใช้ หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธ สินค้า เวชภัณฑ์เครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัสดุอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งอาจใช้กระทำการอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรต้องรายงาน หรือได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน หรือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกำหนด

(8) ออกคำสั่งให้ใช้กำลังทหารเพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง หรือตำรวจระงับเหตุการณ์ร้ายแรงหรือควบคุมสถานการณ์ให้เกิดความสงบโดยด่วน ทั้งนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ของทหารให้มีอำนาจเช่นเดียวกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัตินี้ โดยการใช้อำนาจหน้าที่ของทหารจะกระทำได้เพียงใดให้เป็นไปตามเงื่อนไข และเงื่อนเวลาที่ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกำหนด แต่ต้องไม่เกินกว่ากรณีที่มีการใช้กฏอัยการศึก

ข้อกำหนดตามวรรคหนึ่ง จะกำหนดเงื่อนเวลาในการปฏิบัติตามข้อกำหนด หรือเงื่อนไขในการปฏิบัติของเจ้าพนักงาน หรือมอบหมายให้เจ้าพนักงานกำหนดพื้นที่ และรายละเอียดอื่นเพิ่มเติม เพื่อมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุก็ได้

เมื่อการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรยุติลง ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในประกาศยกเลิกข้อกำหนดตามมาตรานี้โดยเร็ว

มาตรา 26 เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้มีประสิทธิภาพ ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในออกประกาศให้เจ้าพนักงานมีอำนาจดังต่อไปนี้

(1) จับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่สงสัยว่าเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้น หรือปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำอันเป็นภัยความมั่นคงในราชอาณาจักร ทั้งนี้ เท่าที่มีเหตุจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลนั้นกระทำการหรือร่วมมือกระทำการใดๆ อันจะทำให้เกิดการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร หรือเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการระงับการกระทำเช่นว่านั้น

(2) ดำเนินการปราบปรามบุคคล กลุ่มบุคคล หรือกลุ่มองค์กรที่ก่อให้เกิดการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร

(3) ออกหนังสือสอบถาม หรืออกคำสั่งเรียกบุคคลใดมารายงานตัวต่อเจ้าพนักงาน หรือมาให้ถ้อยคำ หรือส่งมอบเอกสาร หรือหลักฐานใด เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร

(4) ตรวจค้นบุคคล ยานพาหนะ เคหสถาน สิ่งปลูกสร้าง หรือสถานที่ใดๆ ตามความจำเป็นเมื่อมีเหตุสงสัยตามสมควรว่ามีทรัพย์สินซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาจากการกระทำความผิด หรือได้ใช้ หรือจะใช้ในการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร

(5) เข้าไปในเคหสถาน หรือสถานที่ใดๆ เพื่อตรวจค้น เมื่อมีเหตุสงสัยว่ามีบุคคลที่ต้องสงสัยว่าจะก่อให้เกิดการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรหลบซ่อนตัวอยู่ หรือมีทรัพย์สินซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาจากการกระทำความผิด หรือได้ใช้ หรือจะใช้ในการกระทำเช่นว่านั้น หรืออาจใช้เป็นพยานหลักฐานลงโทษผู้กระทำความผิดได้ เมื่อมีเหตุอันเชื่อได้ว่าหากไม่รีบดำเนินการบุคคลนั้นจะหลบหนี หรือทรัพย์สินจะถูกโยกย้าย ซุกซ่อน ทำลาย หรือทำให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม

(6) ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน เอกสาร หรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร

มาตรา 27 ในการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่ต้องสงสัยตามประกาศในมาตรา 26 (1) ให้เจ้าพนักงานร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจ หรือศาลอาญาเพื่อขออนุญาตดำเนินการ เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแล้วให้เจ้าพนักงานจับกุม และควบคุมตัวได้ไม่เกินเจ็ดวัน และต้องควบคุมไว้ในสถานที่ที่กำหนดไว้ซึ่งไม่ใช่สถานีตำรวจ ที่คุมขังทัณฑสถาน หรือเรือนจำ โดยจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นในลักษณะเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องควบคุมตัวต่อเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในพระราชอาณาจักร ให้เจ้าพนักงานร้องขอต่อศาล เพื่อขยายระยะเวลาการควบคุมตัวต่อได้อีกคราวละเจ็ดวัน แต่รวมระยะเวลาควบคุมตัวทั้งหมดต้องไม่เกินกว่าสามสิบวัน เมื่อครบกำหนดแล้วหากจะควบคุมตัวต่อไปให้ดำเนินการตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งให้เจ้าพนักงานจัดทำรายงานเกี่ยวกับการจับกุม และ ควบคุมตัวบุคคลนั้นเสนอต่อศาลที่มีคำสั่งอนุญาตตามวรรคหนึ่ง และจัดทำสำเนารายการนั้นไว้ ณ ที่ทำการของเจ้าพนักงานเพื่อให้ญาติของบุคคลนั้นสามารถขอดูรายงานดังกล่าวได้โดยตลอดระยะเวลาที่ควบคุมตัวบุคคลนั้นไว้

การร้องขอต่ออนุญาตต่อศาลตามวรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการขอออกกฏหมายอาญาตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 30 เพื่อประโยชน์ในการรวบรวมข่าวสาร หรือป้องกันการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด หรือผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานร่วมฟังการสอบสวน หรือเรียกสำนวนการสอบสวนคดีอาญามาตรวจดูได้

การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หากอยู่ในอำนาจการสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในแต่งตั้งเจ้าพนักงานร่วมฟังการสอบสวน หรือเรียกสำนวนการสอบสวนคดีอาญามาตรวจดูได้

มาตรา 31 ในกรณีที่มีการกระทำอันเป็นภัยความมั่นคงในราชอาณาจักร ถ้าพนักงานสอบสวนเห็นว่าผู้ต้องหาคนใดได้กระทำความผิดดังกล่าวเพราะหลงผิด หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือมีเหตุที่ไม่สมควรดำเนินคดีกับผู้ต้องหาคนใด ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนสอบสวนสำหรับผู้ต้องหาคนนั้น พร้อมทั้งความเห็นไปยังผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน

ถ้าผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในเห็นชอบด้วยกับความเห็นของพนักงานสอบสวนว่าไม่สมควรดำเนินคดีกับผู้ต้องหา ให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ต้องหาปฏิบัติแทนการถูกฟ้องคดีโดยให้ผู้ต้องหาคนดังกล่าวเข้ารับการอบรม ณ สถานที่ที่กำหนดเป็นเวลาไม่เกินหกเดือน และจะกำหนดเงื่อนไขให้มารายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นครั้งคราวตามที่กำหนดภายหลังการอบรมแล้วด้วยก็ได้ แต่จะกำหนดระยะเวลาที่ให้มารายงานตัวเกินหนึ่งปีไม่ได้

การกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ต้องหาปฏิบัติแทนการฟ้องร้องคดีตามวรรคสอง จะกระทำได้ต่อเมื่อผู้ต้องหายินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขแล้ว และเมื่อผู้ต้องหาได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วนแล้ว จะฟ้องเป็นผู้ต้องหาสำหรับการกระทำที่ต้องหานั้นอีกไม่ได้

มาตรา 36 ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่งหรือการกระทำตามพระราชบัญัญัตินี้ ไม่อยู่ในบังคับของกฏหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฏหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

มาตรา 37 เจ้าพนักงาน และผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย เนื่องจากปฏิบัติหน้าที่ในการระงับ หรือป้องกันการกระทำผิดกฏหมายหากเป็นการกระทำที่สุจริตไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุ หรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น แต่ไม่ตัดสทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการตามกฏหมายว่าด้วยความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

รวบรวมข้อมูลโดย สำนักข่าวชาวบ้าน

--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 26/6/2550